ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันและ
การจัดลำโพงในแบบรอบทิศทางในแบบต่างๆ
อุปกรณ์ระบบเสียงของคอมพิวเตอร์ประกอบด้วย
1.ซาวนด์การ์ด
2.ลำโพงมัลติมีเดีย
ซาวนด์การ์ด
คือ
Sound Card
(การ์ดเสียง)
คือ
อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลออกมาในรูปแบบเสียงได้
โดยจะทำหน้าที่ควบเรื่องเสียง
อย่างเช่น ถ้าวงจรเสียงใช้กับเกมส์ที่เราเล่นจะเกิด
เสียงต่าง ๆ หรือสร้างเสียงเอฟเฟคต่าง
ๆ เข้าเป็น วงจรเสียงที่ใช้กับดนตรีชนิดต่าง
ๆ
สำหรับสร้างสรรค์งานเพลงที่เราต้องการให้มีคุณภาพของเสียงที่ดีขึ้นกว่าเดิม
โดยคุณภาพเสียงจะขึ้นอยู่กับรุ่นและยี่ห้อของ
Sound
Card
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่าง จะมากขึ้นด้วย
ความชัดเจนของเสียงจะมีประสิทธิภาพดีเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ อัตราการสุ่มตัวอย่างและความแม่นยำของตัวอย่างที่ได้ ซึ่งความแม่นยำของตัวอย่างนั้นถูกกำหนดโดยความสามารถของ A/D Converter ว่ามีความละเอียดมากน้อยเพียงใด ทำอย่างไรจึงจะประมาณค่าสัญญาณดิจิตอลได้ใกล้เคียงกับสัญญาณเสียงมากที่สุด ความละเอียดของ A/D Converter นั้นถูกกำหนดโดยจำนวนบิตของสัญญาณดิจิตอลเอาต์พุต เช่น
- A/D Converter 8 Bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 256 ระดับ
- A/D Converter 16 bit จะสามารถแสดงค่าที่ต่างกันได้ 65,536 ระดับ
หากจำนวนระดับมากขึ้นจะทำให้ความละเอียดยิ่งสูงขึ้นและการผิดเพี้ยนของ สัญญาณเสียงยิ่งน้อยลง นั่นคือ ประสิทธิภาพที่ของเสียงที่ได้รับดีขึ้นนั่นเองแต่จำนวนบิตต่อหนึ่งตัวอย่าง จะมากขึ้นด้วย
ชนิดของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด)
ถ้าเราจะแบ่งชนิดของ Sound Card (ซาวนด์การ์ด) นั้น เราสามารถที่จะแบ่ง Sound Card ออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ โดยนับจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้ดังต่อไปนี้
1. Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบ ISA
Sound Card (ซาวนด์การ์ด) แบบนี้เป็น ซาวนด์การ์ด ที่ผลิตออกมานานแล้ว โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้จะใช้ร่วมกับเมนบอร์ดรุ่นเก่าที่มีสล็อต ISA นี้ติดมาด้วย ถ้ามองกันในเรื่องของระบบเสียงแล้ว ยังไม่สามารถให้เสียงที่มีคุณภาพออกมาได้ แต่ก็ถือว่าเป็น Sound Card ที่โดดเด่นมากในสมัยนั้น แต่ในปัจจุบัน Sound Card แบบนี้ไม่มีให้เห็นกันแล้ว
2.
Sound
Card (ซาวนด์การ์ด)
แบบ
PCI
โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้ถือว่าเป็น Sound Card ที่มีให้เห็นกันมากทั่วไปตามตลาดไอทีในบ้านเรา ซึ่งไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็คงจะเห็น ซาวนด์การ์ด แบบนี้วางขายอยู่อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์เสียงออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ Sound Card แบบนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็มีให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย ทั้งที่ราคาถูกจนเหลือเชื่อและที่ราคาแพงมากๆ จนทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนความคิดมาใช้ ซาวนด์การ์ด แบบธรรมดาแทน
โดย ซาวนด์การ์ด แบบนี้ถือว่าเป็น Sound Card ที่มีให้เห็นกันมากทั่วไปตามตลาดไอทีในบ้านเรา ซึ่งไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็คงจะเห็น ซาวนด์การ์ด แบบนี้วางขายอยู่อย่างมากมาย อีกทั้งยังสามารถสังเคราะห์เสียงออกมาได้อย่างมีคุณภาพ ทำให้ Sound Card แบบนี้เป็นที่นิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ซึ่งก็มีให้เลือกใช้ตามอัธยาศัย ทั้งที่ราคาถูกจนเหลือเชื่อและที่ราคาแพงมากๆ จนทำให้หลายคนต้องเปลี่ยนความคิดมาใช้ ซาวนด์การ์ด แบบธรรมดาแทน
3.
Sound
Card (ซาวนด์การ์ด)
แบบ
External
จริงๆ แล้วเขาแบ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด Sound Card แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าซาวนด์แบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
จริงๆ แล้วเขาแบ่ง Sound Card (ซาวนด์การ์ด) ออกได้เป็น 2 ประเภท แต่ที่จัด Sound Card แบบ External ออกเป็นประเภทที่ 3 ก็เพราะว่าซาวนด์แบบนี้เริ่มมีให้เห็นกันมากขึ้นแล้ว อีกทั้งยังมีการติดตั้งที่แตกต่างจาก ซาวนด์การ์ด (Sound Card) ที่บอกมาข้างต้นด้วย โดยสามารถที่จะติดตั้งโดยผ่านทางพอร์ต USB ทำให้ในการใช้งานนั้นสามารถทำได้ง่ายยิ่งขึ้น
พอร์ตต่างๆ ที่มักพบบนSound Card (ซาวนด์การ์ด)
1.
ช่องต่อกับลำโพง
ซึ่งมาพร้อมกับส่วนขยายสัญญาณ
( Amplified
Speakers )
2. ช่อง Line-In ซึ่งเป็นช่องรับสัญญาณเข้าที่เป็นแอนะล็อก ซึ่งอาจจะเป็นช่องรับสัญญาณข้อมูลเสียงจากไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดีหรือเครื่องเล่นเทป ฯลฯ
3. ช่อง Line-Out ซึ่งเป็นช่องที่ส่งสัญญาณแอนะล็อกออกไปยังอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ
4. ช่องต่อ Digital-In ซึ่งตามปกติพอร์ตนี้ จะติดตอยู่กับตัวการ์ดเลย ซึ่งช่องสัญญาณดังกล่าวจะใช้รับสัญญาณดิจิตอล ที่เห็นส่วนมากคือจะใช้ต่อเข้ากับเครื่อง CD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ช่องต่อ Digital-Out ช่องนี้จะใช้สำหรับส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปสู่อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่างๆ
6. ช่องต่อ HeadPhone หรือช่องต่อหูฟัง
จำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
ที่ได้บอกมาข้างต้นนี้
จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับยี่ห้อและรุ่นของSound
Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ
ยิ่งSound
Card (ซาวนด์การ์ด)ที่
มีการทำงานในแบบหลายแชนแนล
ไม่ว่าจะเป็นแบบ 4.1,
5.1, 6.1 หรือ
7.1
แชนแนล
ถ้าพอร์ตที่ได้บอกมานี้มีมากเท่าไร
ก็จะทำให้ในการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ต่างๆ
สามารถทำได้หลากหลายมากขึ้นเท่านั้น
และยิ่งSound
Card (ซาวนด์การ์ด)รุ่น
ใหม่ๆ ที่เราเห็นนั้น
ได้ผลิตพอร์ตเชื่อมต่อที่แปลกใหม่ออกมาอยู่เรื่อยๆ
เช่น พอร์ต Optical
In, พอร์ต
Optical
Out, พอร์ต
MIDI
(In-Out) ทำให้Sound
Card (ซาวนด์การ์ด)นั้นๆ
มีความสามารถที่มากยิ่งขึ้น2. ช่อง Line-In ซึ่งเป็นช่องรับสัญญาณเข้าที่เป็นแอนะล็อก ซึ่งอาจจะเป็นช่องรับสัญญาณข้อมูลเสียงจากไมโครโฟน เครื่องเล่นซีดีหรือเครื่องเล่นเทป ฯลฯ
3. ช่อง Line-Out ซึ่งเป็นช่องที่ส่งสัญญาณแอนะล็อกออกไปยังอุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ
4. ช่องต่อ Digital-In ซึ่งตามปกติพอร์ตนี้ จะติดตอยู่กับตัวการ์ดเลย ซึ่งช่องสัญญาณดังกล่าวจะใช้รับสัญญาณดิจิตอล ที่เห็นส่วนมากคือจะใช้ต่อเข้ากับเครื่อง CD-ROM ของเครื่องคอมพิวเตอร์
5. ช่องต่อ Digital-Out ช่องนี้จะใช้สำหรับส่งสัญญาณดิจิตอลออกไปสู่อุปกรณ์หรือสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่างๆ
6. ช่องต่อ HeadPhone หรือช่องต่อหูฟัง
เทคโนโลยีของซาวนด์การ์ด
Sound
Creative Blaster Audigy RX
Key
Selling – จุดขายที่สำคัญ
– รองรับระบบเสียงได้ทั้งรูปแบบ
5.1/7.1 แชนแนล
– เลือกใช้
chipset E-Mu
ที่มีประสิทธิภาพสูง– มีช่องสำหรับไมค์ 2 ช่อง
– รองรับ
ASIO
เหมาะสำหรับการบันทึกเสียงที่ให้ค่า
latency ต่ำมาก
Suite
For – เหมาะสมส
าหรับผู้ใช้
–
Upgrader / Recorder :
กลุ่มผู้ที่ต้องการระบบเสียงที่ดี
และ
ต้องการเลือกหาซาวนด์การ์ดที่มีประสิทธิภาพดีสำหรับความบันเทิงทั่วๆไป
หรือ ร้านค้าที่ต้องการระบบการฟังเพลง
ที่รองรับลูกค้าได้ อาทิ
ร้านอาหาร คาราโอเกะเป็นต้น
หรือ กลุ่มลูกค้าที่เน้นทางด้านการบันทึกเสียง
จากแหล่งมีเดียต่างๆ
ที่ต้องการซาวด์การ์ดราคาไม่สูงมาก
Sound
Creative Blaster Z
Specifications/Features
-
ซาวด์การ์ดที่เหมาะสำหรับทุกๆการใช้งานไม่ว่าจะเป็นความบันเทิงในรูปแบบต่างๆ
หรือ การใช้งานสื่อสารสนทนาผ่านคอมพิวเตอร์
- เทคโนโลยี
SBX Pro
StudioTM ให้เสียงสมจริงพร้อมระบบเสียงสามมิติรอบทิศทาง
-
ตัวการ์ดเสียงออกแบบมาให้มีเกราะป้องกันการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็ก
-
ไมโครโฟนแบบ
beam-forming
ที่จะสร้างขอบเขตของการรับเสียงผ่านตัวไมค์โครโฟน
โดยไม่ให้เสียงภายนอกเข้ามารบกวน
• Key
Selling – จุดขายที่สำคัญ
– SoundCore3D
:
ใช้ชิพประมวลผลแบบมัลติคอร์รุ่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านเสียงโดยเฉพาะ
– Headphone
Amp 600 โอมห์
:
ให้ค่าความต้านทานเสียงสูงสุด
เพื่อนักฟังโดยเฉพําะ
– SBX Pro
Studio : ประกอบไปด้วยการทำงานทางด้านเสียงที่หลากหลาย
ไม่ว่าจะเป็นด้านการฟัง
– Beam
Foaming Mic : ไมโครโฟนแบบเกาะขอบหน้าจอ
ขจัดเสียงรบกวน และ
ช่วยให้เสียงของคุณมีความชัดเจน
• Suite
For – เหมําะสมส
ำหรับผู้ใช้
– Any
Gamers & Moive or Music lover : กลุ่มคนที่ชอบการเล่นเกมส์และ
มีความต้องการประสิทธิภาพเสียงที่ดี
ไม่ว่าจะเป็นเสียงเอฟแฟ็คจากเกมส์
หรือ เสียงแบบรอบทิศทางที่มีรายละเอียดของเสียงสมจริง
หรือ กลุ่มผู้ที่นิยมการชมภาพยนตร์ที่เน้นรายละเอียดของเสียง
หรือ จะเป็นผู้ที่ชื่นกํารฟังเพลง
หรือ มีเดียต่างๆ
การรองรับระบบเสียง
3
มิติ
(3D)
สำหรับซาวนด์การ์ดที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสังเคราะห์เสียง แบบ 3 มิติ ซึ่งระบบเสียงแบบ 3มิตินี้ จะสามารถสร้างเสียงที่มีความลึก ความ กว้าง ให้เสียงที่มีความสมจริงสมจัง สามารถที่จะเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงและในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี ถ้ามีโอกาสได้เลือกซื้อซาวน์การ์ดสักตัวมาใช้งาน ควรจะเลือกซาวนด์การ์ดที่มีระบบเสียงแบบนี้รวมอยู่ด้วย ถ้ามองดูซาวนด์การ์ดในปัจจุบันนี้ระบบเสียงแบบ 3 มิตินี้ได้ถูกนำไปใส่ไว้ในซาวนด์การ์ดรุ่นใหม่ๆ แทบทั้งสิ้น แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่ยังมีราคาที่สูงอยู่ในบางรุ่น ยิ่งระบบเสียง 3 มิติที่มีคุณภาพสูง ราคาก็ยิ่งแพงตามไปด้วย
สำหรับซาวนด์การ์ดที่มีคุณภาพนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการสังเคราะห์เสียง แบบ 3 มิติ ซึ่งระบบเสียงแบบ 3มิตินี้ จะสามารถสร้างเสียงที่มีความลึก ความ กว้าง ให้เสียงที่มีความสมจริงสมจัง สามารถที่จะเพิ่มอรรถรสในการฟังเพลงและในการเล่นเกมได้เป็นอย่างดี ถ้ามีโอกาสได้เลือกซื้อซาวน์การ์ดสักตัวมาใช้งาน ควรจะเลือกซาวนด์การ์ดที่มีระบบเสียงแบบนี้รวมอยู่ด้วย ถ้ามองดูซาวนด์การ์ดในปัจจุบันนี้ระบบเสียงแบบ 3 มิตินี้ได้ถูกนำไปใส่ไว้ในซาวนด์การ์ดรุ่นใหม่ๆ แทบทั้งสิ้น แต่มีข้อเสียอยู่ตรงที่ยังมีราคาที่สูงอยู่ในบางรุ่น ยิ่งระบบเสียง 3 มิติที่มีคุณภาพสูง ราคาก็ยิ่งแพงตามไปด้วย
ระบบเสียง 3 มิติ ถือเป็นระบบที่คุณภาพเสียงที่ดีในระดับหนึ่ง แต่ในปัจจุบัน เทค โนโลยีระบบเสียง 3 มิตินี้นั้นได้กำเนิดขึ้นมาอยู่หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นระบบ A3D โดยเป็นระบบเสียงของ Aureal ซึ่งถือเป็นระบบเสียง 3 มิติ ที่มี ผู้รู้จักและ ให้การยอมรับมากอีกมาตรฐานหนึ่ง โดยเฉพาะจากผู้ที่พัฒนาทางด้านเกมทั้งหลาย เนื่องจากระบบเสียง A3D นี้สามารถที่จะสังเคราะห์เสียง สามมิติที่มีความ สมจริง สมจัง ทำให้เพิ่มอรรถรสในการเล่นเกมได้มากยิ่งขึ้น และยังสามารถสังเคราะห์เสียงด้วยเทคโนโลยี HRTF ที่มีการสร้างตำแหน่งของเสียง ให้เกิดขึ้น รอบๆ ตัวของผู้ฟัง โดยใช้ลำโพงแค่ 2 ตัวในการแสดงผล แต่ถ้าให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะต้องใช้ลำโพงแบบ 5.1 วางรอบๆ ตัวของผู้ฟัง ระบบ A3D นี้ถูกพัฒนาขึ้นโดย Aureal Semiconductor มีการสังเคราะห์เสียงเหมือนเสียงสะท้อนจากกำแพง ซึ่งให้เสียงที่มีความถูกต้องสูง
ระบบเสียง
EAX
(Environment Audio eXtension) เป็นระบบเสียงที่ทาง
Creative
ได้พัฒนาขึ้นมา
ซึ่งซาวนด์การ์ดของ Creative
รุ่น
ใหม่ๆ ส่วนใหญ่จะใช้มาตรฐานเสียงระบบ
EAX
แทบทั้งสิ้น
เช่น ซาวนด์การ์ดในตระกูล
Creative
SB Audigy 2 ZS, Creative SB Audigy LS, Creative SB Live! Platinum
และรุ่นอื่นๆ
อีกมาก โดยในยุคแรกๆ จะใช้มาตรฐาน
EAX
1.0 แต่ก็ยังถือว่ามีระบบเสียงไม่โดดเด่นมากนัก
จนมาถึงปัจจุบันระบบ EAX
นี้ได้ถูกพัฒนาจนถึงมาตรฐานแบบ
EAX
4.0 แล้ว
และมีระบบ EAX
Advanced HD ที่เห็นได้ค่อนข้างบ่อยในซาวนด์การ์ดรุ่นใหม่ๆ
ซึ่งให้ ระบบเสียงที่มีพลังและมีมิติของเสียงที่ดี
ทำให้ระบบนี้เป็นระบบเสียงที่สุดยอดอยู่ในตอนนี้
ระบบเสียงต่อมาคือระบบเสียงสามมิติแบบ Sensaura ที่ถือเป็น มาตรฐานดั้งเดิมอีกแบบหนึ่งที่ถูกคิดค้นจากประเทศอังกฤษ เป็นระบบที่จำลองเสียงขนาดเล็กให้มาอยู่ใกล้ๆ หูเรามากที่สุด ถึงแม้ว่าเมื่อก่อนระบบ Sensaura นี้จะมีประสิทธิภาพ ไม่โดดเด่นมากนัก แต่ปัจจุบันระบบ Sensaura นี้ได้ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่สูงมากขึ้น มีมิติของเสียงที่ดี อีกทั้งยังรองรับกับ มาตรฐาน Direc Sound 3D อย่างเต็มที่ ซึ่งมาตรฐาน Sensaura นี้ส่วนมากจะพบในซาวนด์การ์ดของ Yamaha เป็นส่วนใหญ่
ความเหมาะสมในการใช้งานร่วมกับลำโพง
ซาวนด์การ์ดแต่ละชนิดใช้กับลำโพงแตกตางกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ อันสูงสุด หากนำมาใช้ไม่เหมาะสมกับลำโพงแล้วหละก็ อาจจะทำให้ดึงความสามารถ ของ ซาวนด์การ์ดออกมาได้ไม่เต็มประสิทธิภาพหรืออาจจะทำให้เสียงที่ออกมาไม่มี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร อย่างเช่น นำซาวนด์การ์ดที่มีการทำงานในแบบ 2.1 แชนแนลไปใช้ร่วมกับลำโพงในแบบ 4.1 แชนแนล ผลที่ได้ก็คือ ลำโพงไม่ได้รับความสามารถของซาวนด์การ์ดได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเสียงที่ได้จะออกมา ได้แค่ 2 ช่องทาง ซึ่งในทางปฏิบัติลำโพงทั้ง 4 ตัวนี้สามารถขับเสียงออกมาได้ ทั้ง 4 ตัวแต่ประสิทธิภาพของเสียงที่ได้นั้นจะด้อยลงหรือถ้านำซาวนด์ การ์ดแบบ 5.1 แชนแนลไป ใช้ร่วมกับลำโพงแบบ 2.1 แชนแนล ซึ่งในการใช้งานนั้น ลำโพงนี้สามารถที่จะเปล่งพลังเสียงออกมาได้เต็มประสิทธิภาพ แต่ ซาวนด์การ์นั้นไม่สามารถที่จะใช้ความสามารถของมันได้เต็มที่ ซึ่งทำให้เกิดสถานะคอขวดขึ้นนั่นเอง
ลำโพงมัลติมีเดียคือ
ลำโพงคอมพิวเตอร์
หรือ ลำโพงมัลติมีเดีย
เป็นลำโพงภายนอก
ที่ต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลโดยผ่านช่องเสียบซึ่งต่อจากการ์ดเสียงภายในเครื่อง
โดยอาจต่อเข้ากับแจ็คสเตอริโอธรรมดา
หรือขั้วต่ออาร์ซีเอ (RCA
connector) และยังมีจุดเชื่อมต่อยูเอสบี
สำหรับใช้ในปัจจุบัน
โดยมีแรงดันไฟจ่าย 5
โวลต์
ลำโพงคอมพิวเตอร์มักจะมีขุดขยายเสียงขนาดเล็ก
และชุดแหล่งจ่ายไฟต่างหาก
มีหน้าที่
ลำโพง
หรือสปีคเกอร์
เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลในรูปของเสียง
เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี
มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย
(Multiedia)
- ชนิดของลำโพง (Speaker)
- เมื่อเราสังเกตลำโพง (Speaker)ในอดีตที่ผ่านมา คุณลักษณะที่สำคัญของลำโพง (Speaker)ที่ จะใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น ที่จะต้องมีก็คือ การที่มีคุณสมบัติในการป้องการสนามแม่เหล็ก (Magnetic Shield) เพื่อที่จะป้องกันสนามแม่เหล็กจากลำโพง (Speaker)ไป รบกวนการทำงานของจอมอนิเตอร์ ซึ่งอาจทำให้การแสดงผลของมอนิเตอร์ผิดพลาดได้เช่นจอมอนิเตอร์มีสีที่ผิด ปรกติเปลี่ยนไปจากเดิม และอาจทำให้มอนิเตอร์เสียหายได้ ส่วนทางด้านคุณภาพเสียง นั้นยังไม่เป็นที่สนใจมากนัก เนื่องจากตอนนั้น เสียงที่ต้องการจากคอมพิวเตอร์ มักจะมาจากการเล่นการฟังเพลงและการเล่นเกมเป็นหลัก ที่ในขณะนั้นคุณภาพเสียงที่ออกมา ยังมีคุณภาพไม่สูงมากนัก และการ์ดเสียงในขณะนั้น ก็ยังมีราคาที่สูงอยู่ แต่คุณภาพไม่ได้สูงตามไปด้วยลำโพง (Speaker)สมัยก่อนจะมีเพียง แบบ 2ลำโพง (Speaker)เท่านั้น โดยถ้าแบ่งชนิดของลำโพง (Speaker)สามารถแบ่งได้เป็น 2 ชนิดก็คือ1.ขยายเสียงในตัว2.แบบที่ไม่มีวงจรขยายเสียง
ส่วนประกอบของลำโพง
(Speaker)
- ลำโพง (Speaker)ที่เราเห็นอยู่ในท้องตลาดนั้น โดยส่วนใหญ่ลำโพง (Speaker)จะอยู่ในรูปของตู้ลำโพง (Speaker)ที่อาจจะทำจากไม้หรือพลาสติกที่มีความทนทาน ซึ่งลำโพง (Speaker)ที่ใช้กับคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหญ่จะมีตู้ลำโพง (Speaker)ที่ทำขึ้นจากพลาสติก โดยภายในจะประกอบด้วย Driver หรือตัวดอกลำโพง (Speaker)ซึ่ง จะมีขนาดที่แตกต่างกันออกไป และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้กำเนิดเสียง ซึ่งได้แก่ Amplifier และ Crossover Network ซึ่งอุปกรณ์ภายในเหล่านี้จะเป็นตัวกำหนดขนาดหรือรูปแบบเสียงของลำโพง (Speaker)ที่ออกมา จำนวนดอกลำโพง (Speaker)ที่ใช้ก็จะมีผลต่อความเป็นธรรมชาติของเสียงที่ออกมา ถ้ามีดอกลำโพง (Speaker)หลายตัวก็จะทำให้เสียงที่ได้ครอบคลุมย่านความถี่ของเสียงได้มากกว่า ให้รายละเอียดของทุกชิ้นเครื่องดนตรีได้ดีกว่าลำโพง (Speaker)แบบ 2 ทาง จะประกอบด้วยลำโพง (Speaker)ของ วูเฟอร์ และทวีตเตอร์ ในย่านความถี่เสียงกลางและเสียงต่ำจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ ส่วนความถี่เสียงสูงก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์ สำหรับลำโพง (Speaker)แบบ 3 ทาง ก็จะประกอบด้วย ซับวูเฟอร์, วูเฟอร์ และทวีตเตอร์ เสียงต่ำสุดก็จะถูกขับออกทางซับวูเฟอร์ เสียงกลางจะถูกขับออกทางวูเฟอร์ และเสียงแหลมก็จะถูกขับออกทางทวีตเตอร์
-
ลำโพง
(Speaker)แบบหลายทางจำเป็นจะต้องมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า
Crossover
Network เป็นตัวแบ่งสัญญาณเสียงในแต่ละย่านออกจากกันและจ่ายไปให้ลำโพง
(Speaker)ที่ถูกต้อง
ซึ่งอาจจะเป็นสองทางหรืสามทางแล้วแต่ว่าเป็นลำโพง
(Speaker)แบบ
ไหน นอกจากนี้ Crossover
Network ยังทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของเสียงในแต่ละย่านความถี่
พร้อมทั้งมีระบบการป้องกันการทำงานที่เกินกำลังของลำโพง
(Speaker)และการป้องกันระดับความถี่ของเสียงที่สูงเกินกว่าลำโพง
(Speaker)จะรับได้
เรามาดูรายละเอียดเกี่ยวกับลำโพง
(Speaker)Tweeter
,ลำโพง
(Speaker)Woofer,
และลำโพง
(Speaker)Sub
Woofer กัน
ลำโพง
(Speaker)Tweeterทวีตเตอร์เป็นลำโพง
(Speaker)ที่ใช้สำหรับขับเสียงความถี่สูง
โดยทั่วไปจะมีความถี่เกินจาก
1.5
KHz ขึ้นไป
ลำโพง (Speaker)Wooferลำโพง (Speaker)วูเฟอร์จะใช้สำหรับขับเสียงความถี่ต่ำ คือในระดับความถี่ไม่เกิน 1.5 KHz เนื่องจากความถี่ต่ำมีความยาวของคลื่นค่อนข้างมากลำโพง (Speaker)วูเฟอร์ จึงต้องมีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถขับอากาศได้เพียงพอสำหรับสร้างเสียงความถี่ ต่ำ ยิ่งวูเฟอร์มีขนาดใหญ่เท่าใด กำลังในการขับและความดังของเสียงเบสก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น วูเฟอร์จะใช้ในการขับเสียงกลางและเสียงต่ำ
ลำโพง (Speaker)Sub Wooferซับวูเฟอร์เป็นลำโพง (Speaker)ที่ใช้ขับเสียงความถี่ต่ำที่สุด คือในระดับความถี่ถึง 500 Hz ยิ่งขนาดของลำโพง (Speaker)ซับวูเฟอร์มีขนาดใหญ่มากเท่าใด พลังในการขับก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น ในระบบลำโพง (Speaker)ที่มีซับวูเฟอร์จะให้เสียงในระดับความถี่ต่ำได้ดีเป็นพิเศษ
ลำโพงกับระบบเสียงเซอร์ราวน์
ระบบเสียงเซอร์ราวน์
(Surround
Sound System) หรือระบบเสียงรอบทิศทางนั้น
เป็นความพยายามที่จะสร้างระบบเสียงให้มีความสมจริงมากที่สุด
โดยนิยมใช้กับเครื่องเสียงเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านการชมภาพยนตร์เป็นส่วนใหญ่
จากเดิมที่ใช้ลำโพงทางด้านหน้าเพียง
2
ตัวในตำแหน่งซ้ายและขวา
ก็ดเพิ่มจำนวนลำโพงในตำแหน่งอื่นๆ
เข้าไปเพื่อนให้สามารถแสดงเสียงได้ละเอียดมากขึ้น
ลำโพงแบบ2.1
ลำโพงแบบ
2.1
แชนแนลก็ประกอบไปด้วยลำโพงด้านหน้าซ้าย/ขวา
และลำโพงซับบวูฟเฟอร์เพื่อนใช้ขับเสียงทุ้มอีก
1
ตัวรวมเป็น
3
ตัว
ซึ่งลำโพงแบบนี้จะให้คุณภาพเสียงในระดับพื้นฐานที่ดีกว่าแบบสเตอริโอ
2
ตัวธรรมดาเล็กน้อย
เพราะมีการนำลำโพงซับวูฟเฟอร์แยกออกมาต่างหากจึงทำให้ได้เสียงทุ้มที่ดีกว่าแบบธรรมดา
ลำโพงแบบ4.1
ลำโพงแบบ
4.1
จะเพิ่มลำโพงเซอร์ราวน์ด้านหลังขึ้นมาอีก2ตัวคือซ้ายและขวารวมเป็น5ตัวจึงทำให้ได้คุณภาพเสียงดีกว่าลำโพงแบบ
2.1
สำหรับลำโพงแบบ
4.1
นี้เหมาะกับผู้ที่ต้องการระบบเสียงทีมีคุณภาพคุ้มค่ากับเงินที่เสียไป
เพราะในปัจจุบันการ์ดเสียงทั้งหมดจะรองรับการต่อลำโพงแบบ
4.1
ได้และยังถือว่าเป็นรูปแบบของลำโพงต่ำสุดที่การ์ดเสียงควรจะทำได้อีกด้วย
ลำโพงแบบ5.1
ลำโพงแบบ
5.1
จะเพื่มลำโพงด้านหน้าตรงกลางขึ้นมาอีก
1
ตัวรวมเป็น
6
ตัว
โดยลำโพงแบบ 5.1
จะรองรับระบบเสียงแบบ
Dolby
Digital หรือ
DTS
ด้วย
เพื่อให้การชมภาพยนตร์มีคุณภาพเสียงที่ดีขึ้น
ในปัจจุบันการ์ดเสียงส่วนมากมักจะรองรับการต่อลำโพงแบบ
5.1
ไม่เว้นแม้แต่การ์ดเสียงแบบออนบอร์ด
ลำโลงแบบ 5.1
ที่มีขายในเมืองไทยจะอยู่
2
แบบคือ
แบบที่มีตัวถอดรหัส AC-3
หรือ
DTS
กันแบบที่ไม่มีตัวถอดรหัสเสียง
ลำโพงแบบ6.1
ลำโพงแบบ6.1
ได้เพิ่มเซอร์ราวน์ด้านหลังตรงกลางขึ้นมาอีก
1
ตัวรวมเป็น7ตัว
และยังลองรับระบบเสียง Dolby
Digital EX หรือ
DTS
ES อีกด้วย
สำหรับลำโพงที่ลองรับแบบ
6.1
ในเมืองไทยพบเห็นได้น้อยมาก
รุ่นหนึ่งก็คือ Creative
Inspire 6600 เพราะส่วนใหญ่จะข้ามการผลิตลำโพงแบบ
6.1
ไปผลิตแบบ
7.1
ลำโพงแบบ7.1
ลำโพงแบบ
7.1
เป็นการพัฒนาต่อจากลำโพงแบบ
5.1
(ไม่ใช่จาก6.1)
โดยเพิ่มลำโพงเซอร์ราวน์
ตรงกลาง(ระหว่างด้านหน้าและหลังอีก2ตัว
ซ้ายและขวา รวมเป็น8ตัว)
รวมถึงการลองรับระบบเสียง
Dolby
Digital EX หรือ
DTS
ES เช่นเดียวกับลำโพงแบบ
6.1
ผู้เรียบเรียง
1.
นาย
สิทธิพล เพ็ชรแอ
2.
นาย
วิชยา
พูลสวัสดื์
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น