เทคโนโลยีเมนบอร์ด
เมนบอร์ดคืออะไร
เมนบอร์ด
คือแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีส่วนสำคัญมากของคอมพิวเตอร์
เป็นแผงวงจรหลักที่คอยสั่งการให้อุปกรณ์ต่างๆที่มีการเชื่อมต่อทำงานตามคำสั่ง
ซึ่งเมนบอร์ดนั้นจะเป็นแผงวงจรที่รวมเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ไว้ด้วยกัน
อาทิ ซ็อกเก็ตสำหรับใส่
ซีพียู (CPU)
และหน่วยความจำหลักและหน่วยความจำถาวร
มีไบออสเป็นเฟิร์มแวร์
พร้อมช่องให้สามารถเสียบอุปกรณ์
เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เสริมอื่นๆ
โดยสามารถเชื่อมต่อได้ทั้งอุปกรณ์ภายในและอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอก
ประเภทต่างๆของเมนบอร์ด
1.XL-ATX
เป็น
Mainboard
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดา
Mainboard
ATX ทั้ง
5
ประเภท
เนื่องจากมีการติดตั้งชุดอุปกรณ์มาให้จำนวนมาก
เช่น พอร์ต SATA
และสล็อตการ์ดจอที่มากกว่า
Mainboard
ทั่วๆไป
รองรับการเพิ่มอุปกรณ์ในอนาคตได้เป็นอย่างดี
เช่น หากเป็นเมนบอร์ด
WorkStation
ก็จะรองรับการติดตั้ง
CPU
ถึง
2
ตัวเนื่องจากมันมีพื้นที่เพียงพอในการติดตั้งอุปกรณ์ลงไป
แน่นอนว่าต้องรองรับการใช้งานอย่างเต็มรูปแบบมากกว่า
Mainboard
ทุกชนิด
โดยส่วนใหญ่แล้ว Mainboard
ขนาด
XL-ATX
จะมีขนาดที่ประมาณ
345mm
x 263mm ยกตัวอย่างเช่น
MSI
Z87 XPower
2.Extended
ATX
(E-ATX)
มีขนาดเล็กกว่า
XL-ATX
อยู่พอสมควร
ซึ่งจริงๆแล้ว Mainboard
ขนาด
E-ATX
เพิ่งถูกผลิตเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา
เนื่องจาก Mainboard
บางรุ่นไม่สามารถติดตั้งอุปกรณ์ลงไปได้เพียงพอ
จึงได้มีการขยายความกว้างของตัว
Mainboard
จากขนาด
ATX
ออกไปเล็กน้อยในขณะที่ยังคงมีความยาวเท่ากับขนาด
ATX
โดยส่วนใหญ่แล้ว
E-ATX
จะมาในขนาด
305mm
x 270mm ยกตัวอย่างเช่น
ASUS
Maximus V Extreme
3.
ATX
เรียกได้ว่าเป็นเมนบอร์ดขนาดมาตรฐานที่ทางผู้ผลิตนิยมใช้กันมากที่สุดใน
ปัจจุบัน
เนื่องจากเป็นขนาดที่พอเหมาะที่สุดในการติดตั้งชุดอุปกรณ์ลงไป
ส่วนใหญ่มักจะเป็น Mainboard
ตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับสูง
นอกจากทางผู้ผลิตจะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับ
Mainboard
ระดับ
high-end
บางรุ่นก็จะข้ามไปใช้ขนาด
E-ATX
แทน
เรียกได้ว่า ATX
นั้นรองรับการติดตั้งในเคสทั่วๆไปได้ทั้งหมด
ด้านขนาดจะอยู่ที่ประมาณ
305mm
x 244mm ที่จะสั้นกว่าขนาด
E-ATX
อยู่เล็กน้อย
ยกตัวอย่างเช่น SuperMicro
C7Z87-OCE
4.Micro-ATX
ลดขนาดลงจากขนาด
ATX
พอสมควร
ซึ่งทางผู้ผลิตมักจะเลือกใช้
Mainboard
ขนาดนี้สำหรับ
Mainboard
ระดับกลางถึงระดับล่าง
เช่น กลุ่มคอมพิวเตอร์สำนักงาน,
กลุ่ม
HTPC
ขนาดเล็ก
แต่ก็มีบางรุ่นที่มีสเปคระดับ
high-end
เพียงแต่ย่อขนาดให้อยู่ในรูปแบบ
Micro-ATX
เท่านั้น
โดยจะมีขนาดที่ประมาณ 244mm
x 244mm ยกตัวอย่างเช่น
ASRock
Z87M OC Formula
5.
Mini-ITX
เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ทางผู้ผลิต
Mainboard
ผลิตออกมาเพื่อใช้ประกอบคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก
ซึ่งในอดีต Mainboard
ขนาด
Mini-ITX
จะเป็นเพียงชุดคอมพิวเตอร์ประหยัดพลังงาน
ไม่ได้เน้นด้านประสิทธิภาพ
ติดตั้งชุดอุปกรณ์ได้น้อยชิ้นเนื่องจากขนาดที่จำกัดเพียง
170mm
x 170mm
แต่ปัจจุบันหลายๆแบรนด์ก็มีการพัฒนาในเรื่องประสิทธิภาพการทำงานเอาใจกลุ่ม
นักเล่นเกมหรือนักโอเวอร์คล็อกมากยิ่งขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ASUS
Maximus VI Impact
ภาพที่ 3 แสดงส่วนประกอบต่างๆของเมนบอร์ด
ภาพที่
1
แสดงเมนบอร์ดต่างๆ
6.
BTX
เมนบอร์ดแบบ
BTX
(Balanced Technology Extended) เป็นรูปแบบของเมนบอร์ด
มาตรฐานที่ได้รับการพัฒนาของอินเทล
ซึ่งเมนบอร์ดแบบ BTX
จะประกอบด้วย
Socket
T
หน่วยความจำ
DDR
II และสล็อตแบบ
PCI
Express โดยตั้งใจให้ออกมาแทนสล็อตแบบ
PCI
และ
AGP
ซึ่งเมนบอร์ดนี้จะมีอัตราการรับส่งข้อมูลที่สูงถึง
250
MB/s ในแบบทิศทางเดียวและ
500MB/s
ในแบบสองทิศทาง
ภาพที่
2
แสดงเมนบอร์ด
BTX
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
ATX
Power Connector : ขั้วต่อสายไฟจากพาวเวอร์ซัพพลายเข้ากับเมนบอร์ด
ซึ่งเป็นขั้วต่อแบบ ATX
โดยที่พาวเวอร์ซัพพลาย
จะมีสายไฟหนึ่งชุดเอาไว้ต่อเข้ากับเมนบอร์ด
และด้านหนึ่งของขั้วต่อจะมีสลักล็อกสายไฟ
ป้องกันไม่ให้สายไฟ
หลุดจากเมนบอร์ดได้ง่าย
BIOS
(Basic Input Output ) : เป็น
CHIP
IC ชนิดหนึ่งที่อยู่บนเมนบอร์ด
ภายในจะมีโปรแกรมที่ใช้ตรวจสอบค้นหาอุปกรณ์ประเภทฮาร์ดดิสก์
ซีดีรอม ดิสก์ไดร์ฟ ที่ติดตั้งเข้าไป
ทุกครั้งที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมที่อยู่ในไบออส
จะเริ่มตรวจสอบการทำงานของ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น
การทำงานของเมนบอร์ด ฮาร์ดดิสก์
แรม การ์ดจอ คีย์บอร์ด
ซึ่งกระบวนการนี้เรียกว่า
Power
on Self Test (Post)
ในกรณีที่มีอุปกรณ์เสียหรือผิดปกติก็จะรายงานให้ทราบ
นอกจากนี้ไบออสยังมีคำสั่งสั่งให้เครื่อง
คอมพิวเตอร์บูตเข้าสู่วินโดวส์
หรือระบบปฏิบัติการอื่น
ที่ติดตั้งเอาไว้ด้วย
ในรูปนี้เป็นไบออสของ AMI
ซึ่งไบออสมีหลายยี่ห้อด้วยกัน
เช่น AWARD,
PHEONIX, COMPAQ, IBM ซึ่งจะมี
ความแตกต่างกันบ้างในเรื่องของวิธีการเข้าไปตั้งค่าการทำงานของไบออส
รวมทั้งรูปแบบเมนูของไบออส
ส่วนเมนบอร์ด ที่ใช้จะมีไบออสยี่ห้อไหน
และตำแหน่งติดตั้งอยู่ที่ไหนสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากคู่มือของ
เมนบอร์ด
CMOS
Battery :
แบตเตอรี่เบอร์
CR2032
เป็นแบตเตอรี่ที่จ่ายกระแสไฟให้กับ
CMOS
เพื่อเก็บข้อมูลในไบออส
เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม
วันเวลา ถ้าหากแบตเตอรี่หมดอายุจะทำให้ข้อมูลในไบออสหายไป
ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถตรวจสอบ
ได้ว่ามีฮาร์ดดิสก์
มีซีดีรอมต่อพ่วงอยู่หรือเปล่า
ทำให้คอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานได้
แบตเตอรี่จะมีอายุการใช้งานประมาณสองหรือสามปี
หากต้องการเปลี่ยนก็หาซื้อได้ตามร้านนาฬิกาหรือร้านถ่ายรูป
CPU
Socket : ใช้สำหรับติดตั้งซีพียูเข้ากับเมนบอร์ด
เมนบอร์ดที่ใช้กับซีพียูของอินเทลคือ
Pentium
4 และ
Celeron
จะเรียกซ็อคเก็ตว่า
SOCKET
478 ส่วนเมนบอร์ดสำหรับซีพียู
AMD
นั้นจะมีซ็อคเก็ตแบบ
SOCKET
462 หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
SOCKET
A จุดสังเกตว่าเมนบอร์ดเป็นซ็อคเก็ตแบบใดนั้นก็ดูจากชื่อที่พิมพ์ไว้บน
ซ็อคเก็ต ส่วนความแตกต่างอีกอย่างหนึ่งก็คือรอยมาร์ค
ที่มุมของซ็อคเก็ต ถ้าเป็นซ็อคเก็น
478
จะมีรอยมาร์คอยู่ที่มุมหนึ่งด้าน
ส่วนซ็อคเก็ต 462
จะมีรอยมาร์คที่มุมสองด้าน
โดยรอยมาร์คจะตรงกับตำแหน่งของซีพียู
เพื่อให้คุณติดตั้งซีพียูเข้ากับซ็อคเก็ตได้อย่างถูกต้อง
Floppy
Disk Connector : คอนเน็คเตอร์สำหรับต่อสายแพเข้ากับ
Disk
Drive ซึ่งเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์ไว้ให้หนึ่งช่อง
ซึ่งก็เพียงพอต่อการ ใช้งาน
เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะติดตั้งดิสก์ไดร์ฟเพียงแค่หนึ่งไดร์ฟ
เท่านั้น จุดสังเกตก็คือจะมีข้อความว่า
FLOPPY
หรือเมนบอร์ดบางรุ่นจะเป็นตัวย่อว่า
FDD
พิมพ์กำกับอยู่
ส่วนที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือที่ช่องคอนเน็คเตอร์จะมี
Pin
หรือเข็มอยู่
33
อัน
โดยด้านหนึ่งจะมีคำว่า PIN
1 พิมพ์กำกับอยู่ด้วย
เมื่อต้องการต่อสายแพเข้ากับคอนเน็คเตอร์
จะต้องเอาด้านที่มีสีแดงหรือสีน้ำเงินมาไว้ที่ตำแหน่ง
PIN
1
IDE
Connector :
เป็นคอนเน็คเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อสายแพกับฮาร์ดดิสก์แบบ
IDE
รวมถึงอุปกรณ์จำพวกไดร์ฟอ่านเขียนข้อมูล
เช่น ซีดีรอม ดีวีดี ซิฟไดร์ฟ
โดยเมนบอร์ดจะมีคอนเน็คเตอร์
IDE
อยู่สองชุดด้วยกัน
เรียกว่า IDE
1 กับ
IDE
2 แต่ละคอนเน็คเตอร์
จะรองรับอุปกรณ์ได้สองชิ้น
ซึ่งหมายถึงว่าคุณจะต่อฮาร์ดดิสก์รวมทั้งซีดีรอมได้สูงสุดแค่สี่ชิ้น
ซึ่งอาจจะเป็นฮาร์ดิสก์
สองตัวกับไดร์ฟ CD-RW
และไดร์ฟ
DVD
อีกอย่างละหนึ่ง
เช่นเดียวกันกับ FDD
Connector ก็คือจะมีตัวอักษรพิมพ์กำกับว่าด้านใดคือ
PIN
1 เพื่อให้ต่อสายแพเข้าไปอย่างถูกต้อง
แต่ IDE
Connector จะมีจำนวนพินมากกว่าคือ
39
พิน
PCI
Slots (Peripherals component interconnect) :
สล็อตพีซีไอ
เป็นช่องที่เอาไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
เช่น ติดตั้งการ์ด SCSI
การ์ดเสียง
การ์ดเน็ตเวิร์ค โมเด็มแบบ
Internal
เมนบอร์ดโดยส่วนใหญ่จะมีสล็อตพีซีไอเป็นสีขาวครีม
แต่ก็มีเมนบอร์ดรุ่นใหม่บางรุ่นที่เพิ่มสล็อตพีซีไอ
โดยใช้สีแตกต่าง เช่น สีน้ำเงิน
เพื่อใช้ติดตั้งการ์ดที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ
สล็อตแบบพีซีไอนั้นถูกออกแบบมาแทนสล็อตแบบ
VL
ซึ่งทำงานได้ช้า
การติดตั้งอุปกรณ์ทำได้ยาก
เนื่องจากต้องเซ็ตจัมเปอร์
แต่พีซีไอนั้นจะเป็นระบบ
Plug
and Play ที่ติดตั้งอุปกรณ์ได้ง่ายกว่า
อุปกรณ์บางอย่าง เช่น การ์ดเสียง
เมื่อติดตั้งแล้วโอเอส
จะรู้จักทันทีหรือเพียงแค่ลงไดรเวอร์เพิ่มเติมเท่านั้น
อนึ่งสล็อตแบบพีซีไอนั้นเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
PCI
Bus ซึ่งก็หมายถึง
เส้นทางที่ใช้ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเมนบอร์ดกับอุปกรณ์ต่อพ่วง
โดยบัสแบบจะทำงานในระบบ 32
บิต
RAM
Sockets : เป็นช่องที่ใช้สำหรับติดตั้งแรมเข้าไป
เมนบอร์ดแต่ละรุ่นจะมีช่องสำหรับติดตั้งแรมไม่เท่ากัน
บางรุ่นอาจจะมีแค่สอง
บางรุ่นมีสาม บางรุ่นมีสี่
จำนวนช่องถ้ามีเยอะก็จะทำให้คุณเพิ่มแรมได้มากขึ้น
ซ็อคเก็ตที่ใช้ติดตั้งแรมยังแบ่งออกไปตามชนิดของแรมด้วย
ถ้าเป็นเมนบอร์ดที่ใช้แรมแบบ
DDR
จะมีรอยมาร์ค
อยู่ตรงกลางหนึ่งช่อง
ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งรอยมาร์คที่แรม
System
Panel Connector :
สิ่งที่คุณจะสังเกตุเห็นก็คือกลุ่มเข็มที่โผล่ออกมาเหมือนเสาเข็ม
สำหรับ System
Panel นั้นเป็นจุดที่ใช้ต่อสายสวิทช์
ปิดเปิดเครื่อง (Power
Switch) สายไฟปุ่มรีเซ็ท
(Reset
Switch) ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์
(HDD
LED) ลำโพงภายในตัวเครื่อง
(Speaker)
และสวิทช์ล็อกการทำงานของคีย์บอร์ด
(Keyboard
Lock) โดยสวิทช์หรือ
หลายไฟเหล่านี้จะติดอยู่กับเคสเครื่องคอมพิวเตอร์
ถ้าคุณไม่ต่อสายไฟจากเคสเข้ากับ
System
Panel สวิทช์เปิดเครื่อง
หรือไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์ก็จะไม่ติด
PS/2
Mouse, PS/2 Keyboard Port :
เป็นพอร์ต์ที่ใช้สำหรับต่อสายเม้าส์กับสายคีย์บอร์ดเข้ากับเครื่อง
คอมพิวเตอร์
โดยเรียกว่าพีเอสทูเม้าส์หรือพีเอสทูคีย์บอร์ด
ซึ่งพอร์ตจะมีรูกลมหกรู
แล้วก็รูสี่เหลี่ยมหนึ่งรู
ซึ่งปลายสายคีย์บอร์ดหรือเม้าส์ก็จะมีเข็มที่ตรงกับตำแหน่งของรูที่พอร์ต
ด้วย การเสียบสายเม้าส์และคีย์บอร์ดเข้าไป
ต้องระวังให้เข็มตรงกับรู
สำหรับพอร์ตเม้าส์และคีย์บอร์ดนั้นจะใช้
Color
Key แสดงเอาไว้
สีเขียวคือต่อสายเม้าส์
ส่วนสีน้ำเงินต่อสายคีย์บอร์ด
นอกจากนี้ยังมีจุดสังเกตุอีกประการหนึ่งก็คือ
เมื่อประกอบเมนบอร์ดเข้ากับเคส
ที่เคสจะมีสัญลักษณ์รูปเม้าส์กับรูปคีย์บอร์ด
ติดอยู่ เพื่อให้ต่อสายเม้าส์และคีย์บอร์ดได้ถูกต้อง
USB
Port (Universal Serial Bus) :
พอร์ตสำหรับต่อพ่วงกับอุปกรณ์ที่มีพอร์ตแบบยูเอสบี
เช่น พรินเตอร์ สแกนเนอร์
กล้องดิจิตอล ซีดีรอมไดร์ฟ
ซิพไดร์ฟ เป็นต้น
เมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีพอร์ตยูเอสบีเพิ่มมาอีกเรียกว่าพอร์ต
USB
2.0 ซึ่งรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าเดิม
เมื่อคุณต้องซื้ออุปกรณ์ต่อพ่วง
ควรตรวจสอบด้วยว่าอุปกรณ์นั้นเชื่อมต่อกับพอร์ตยูเอสบีรุ่นเก่า
หรือว่าต้องใช้ร่วมกับพอร์ต
ยูเอสบี 2.0
เพื่อความมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ซื้อมานั้นจะทำงานได้อย่างไม่มีปัญหาใดๆ
Parallel
Port :
พอร์ตพาราเรล
เป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู
25
รู
สำหรับต่อสายพรินเตอร์หรือสแกนเนอร์ที่มีพอร์ตแบบพาราเรล
ซึ่งส่วนใหญ่
จะใช้ต่อกับเครื่องพรินเตอร์มากกว่า
ซึ่งบางคนจะเรียกว่าพรินเตอร์พอร์ต
โดยส่วนใหญ่พอร์ตพาราเรลจะมีกับเครื่อง
พรินเตอร์รุ่นเก่า
หรือในเครื่องพรินเตอร์ระดับกลางๆ
ขึ้นไป
Serial
Port :
พอร์ตแบบตัวผู้ที่มีขาสัญญาณอยู่
9
ขา
เรียกว่าคอมพอร์ต (COM
Port) เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อโมเด็ม
เม้าส์ หรือจอยสติ๊ก
ปัจจุบันอุปกรณ์ที่ใช้พอร์ตนี้แทบไม่มีให้เห็น
เนื่องจากหันไปใช้พอร์ตแบบ
USB
เป็นส่วนใหญ่
Video
Port :
พอร์ตสำหรับต่อสายสัญญาณภาพ
กับจอคอมพิวเตอร์
ลักษณะของพอร์ตจะเป็นพอร์ตแบบตัวเมียมีรู
15
รู
สำหรับพอร์ตนี้
จะมีอยู่เฉพาะในเมนบอร์ดรุ่นที่รวมเอาการ์ดแสดงผลเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย
(VGA
Onboard)
IEEE1394
Port :
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
FireWire
(บริษัทโซนี่เรียกว่า
I-Link)
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับอุปกรณ์ต่อพ่วงอีกชนิดหนึ่ง
ซึ่งก็มีในเมนบอร์ดบางรุ่น
พอร์ตนี้จะใช้สำหรับต่อพ่วงกับ
สแกนเนอร์ กล้องดิจิตอลระดับไฮเอนด์
กล้องดิจิตอลวิดีโอ
ฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตแบบ
Firewire
โดยส่วนใหญ่แล้วจะใช้ต่อกับ
กล้องดิจิตอลวิดีโอ
เนื่องจากการที่
สามารถควบคุมการทำงานของกล้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
Line
in / Line out / Microphone Jack :
สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่
ซาวน์ดการ์ดจะถูกรวมเข้าไปกับเมนบอร์ดด้วย
ที่เรียกกันว่า Sound
on Board จุดสังเกตก็คือที่เมนบอร์ดจะมีช่องสำหรับต่อไมโครโฟน
ลำโพง แล้วก็เครื่องเล่นเทป
ทำให้ไม่ต้องซื้อซาวน์ดการ์ดเพิ่ม
อย่างไรก็ดีถ้าคุณต้องการคุณภาพเสียงที่ดีกว่า
หรือต้องการใช้เครื่องคอมกับการทำดนตรี
หรืองานตัดต่อวิดีโอ
ภาพที่ 3 แสดงส่วนประกอบต่างๆของเมนบอร์ด
การอ่านสเปกเมนบอร์ด
เป็นอุปกรณ์ที่เป็นเหมือนหัวใจสำคัญในการจัดการกับระบบต่างๆ
รวมถึงเชื่อมโยงอุปกรณ์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น ซีพียู แรม
กราฟิกการ์ด ฮาร์ดไดรฟ์
พอร์ตและคอมโทรลเลอร์อื่นๆ
อีกมากมาย ซึ่งก็มีให้เลือกใช้งานด้วยกันหลายรูปแบบ
ตั้งแต่ Mini-iTX,
mATX, ATX ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้งานในรูปแบบใดเป็นหลัก
แต่สิ่งสำคัญในการเลือกใช้ก็คือ
ต้องเลือกให้ตรงกับการใช้งานของซีพียู
ซึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ
ก็คือ ซ็อกเก็ตและชิปเซ็ต
เมนบอร์ดจากค่าย
Intel
ในปัจจุบันมีซ็อกเก็ตเพียง 3 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย LGA1150, LGA1150 และ LGA2011 ซึ่งออกมาเพื่อรองรับซีพียูในรุ่นต่างๆ กันไป
ในปัจจุบันมีซ็อกเก็ตเพียง 3 รูปแบบหลัก ประกอบด้วย LGA1150, LGA1150 และ LGA2011 ซึ่งออกมาเพื่อรองรับซีพียูในรุ่นต่างๆ กันไป
LGA1155
เป็นซ็อกเก็ตสำหรับการใช้งานร่วมกับซีพียูเดสก์ทอป
Intel
ที่เป็น
Core
i3, Core i5 และ
Core
i7 ภายใต้สถาปัตยกรรม
SandyBridge
และ
IvyBridge
ในรุ่นที่เป็น
Gen
3 โดยใช้งานร่วมกับชิปเซ็ตในตระกูล
P6x,
H6x และ
Z7x
LGA1150
เป็นซ็อกเก็ตใหม่ล่าสุด
ที่ออกมารองรับการทำงานร่วมกับซีพียู
Intel
Core i3, Core i5 และ
Core
i7 ในสถาปัตยกรรม
Haswell
หรือ
Core
i Processor Gen 4 นั่นเอง
โดยทำงานร่วมกับชิปเซ็ต
B8x,
H8x และ
Z8x
ซึ่งเวลานี้มีชิปเซ็ต
H97
และ
Z97
รุ่นใหม่ให้ใช้งานกันแล้ว
LGA2011
เป็นซ็อกเก็ตสำหรับซีพียูในระดับไฮเอนด์
ร่วมกับซีพียู Core
i7 ในสถาปัตยกรรม
SandyBridge
และ
IvyBridge
ซึ่งเป็นซีพียู
Core
Processor Gen 3 โดยทำงานร่วมกับชิปเซ็ต
X79
และล่าสุดกับชิปเซ็ต
X99
ที่มาพร้อมการทำงานร่วมกับแรม
DDR4
เมนบอร์ดจากค่าย
AMD
ในเวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ FM และ AM3+ เป็นหลัก สำหรับการทำงานร่วมกับซีพียูในรุ่นต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย A-series และ FX-series
ในเวลานี้มีอยู่ด้วยกัน 2 รูปแบบคือ FM และ AM3+ เป็นหลัก สำหรับการทำงานร่วมกับซีพียูในรุ่นต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย A-series และ FX-series
FM1
และ
FM2
เป็นซ็อกเก็ตที่ใช้ร่วมกับซีพียู
AMD
A-series โดยที่
FM1
นั้นจะทำงานร่วมกับ
A-series
ในรุ่นแรกบนชิปเซ็ต
A75
และ
A55
ส่วนซ็อกเก็ตแบบ
FM2
นั้น
จะรองรับซีพียู A-series
ในรุ่นที่
2
ซึ่งทำงานร่วมกับชิปเซ็ต
A85
และ
A75
AM3+
เป็นซ็อกเก็ตที่ใช้ร่วมกับซีพียู
AMD
FX-series รองรับซีพียูในรุ่น
FX-4xxx,
FX-6xxx และ
FX-8xxx
โดยมีชิปเซ็ต
AMD
970, 990X และ
990FX
ความแตกต่างของชิปเซ็ต 970, 990X และ 990FX หลักๆ อยู่ที่การสนับสนุนระบบ Multi-GPU และการรองรับ PCI-Express รวมถึงระบบ Hyper Transport ซึ่งแน่นอนว่า 990FX และ 990X เป็นรุ่นที่มีออพชันต่างๆ ที่พร้อมสำหรับการใช้งานอย่างครบครัน โดยใน AMD 970 นั้นจะเป็นรุ่นประหยัด ที่ถูกตัดความสามารถบางส่วนลง
ความแตกต่างของชิปเซ็ต 970, 990X และ 990FX หลักๆ อยู่ที่การสนับสนุนระบบ Multi-GPU และการรองรับ PCI-Express รวมถึงระบบ Hyper Transport ซึ่งแน่นอนว่า 990FX และ 990X เป็นรุ่นที่มีออพชันต่างๆ ที่พร้อมสำหรับการใช้งานอย่างครบครัน โดยใน AMD 970 นั้นจะเป็นรุ่นประหยัด ที่ถูกตัดความสามารถบางส่วนลง
ภาพที่
4
แสดงช่องใส่ซีพียู
RAM
Slot :
การสนับสนุน
RAM
ทั้งในเรื่องความจุและความเร็วบัส
โดยพื้นฐานจะรองรับการทำงานของ
DDR3
ตามมาตรฐานและรองรับหน่วยความจำได้
4
สล็อต
แต่สิ่งที่ผู้ใช้ต้องสังเกตก็คือ
ความจุสูงสุดที่สามารถติดตั้งได้บนสล็อต
รวมถึงการสนับสนุนความเร็วบัส
แม้ว่าเมนบอร์ดในปัจจุบันอาจจะรองรับแรมความเร็วมาตรฐานอย่างเช่น
DDR3
1333/ 1600 แต่ก็มีเมนบอร์ดบางรุ่นที่รองรับการเพิ่มความเร็วขึ้นไปถึง
DDR3
1866 หรือ
2133
โดยผ่านการปรับแต่งเล็กน้อย
แต่ก็สามารถใช้งานได้ทันที
ซึ่งหากผู้ใช้เองต้องการความเร็วในการทำงานร่วมกับแรมความเร็วสูงที่มีอยู่
ก็อาจจะต้องเลือกเมนบอร์ดที่รองรับความเร็วดังกล่าวนี้ด้วย
เช่นเดียวกับแรมในรุ่นล่าสุดที่ออกมาเพื่อการทำงานร่วมกับซีพียู
Intel
Core i7 Gen 5 ไม่ว่าจะเป็น
Intel
Core i7 5960X, Core i7 5930K และ
Core
i7 5820K ด้วยมาตรฐาน
DDR4
2133MHz ซึ่งทำให้แบนด์วิทธ์สูงสุดในการทำงาน
PCI-Express
slot :
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆ
ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกับกราฟิกการ์ดและ
Expansion
Cars ในลักษณะของการ์ดที่ใช้ในการเพิ่มเติมฟังก์ชันการทำงาน
อย่างเช่น RAID
card หรือ
Editing
card เป็นต้น
ที่ปรากฏบนเมนบอร์ดในเวลานี้
มีตั้งแต่ PCI-Express
x1, x4 และ
x16
โดยที่
PCI-Express
x16 นั้นจะใช้ร่วมกับกราฟิกการ์ดเป็นหลัก
สิ่งที่ผู้ใช้ควรต้องสังเกตคือ
หากต้องการใช้งานกราฟิกการ์ดในแบบ
CrossFire
หรือ
SLI
ก็ต้องดูจำนวนสล็อต
PCI-Express
x16 บนเมนบอร์ด
ให้มีมากกว่า 2
สล็อตขึ้นไป
เมนบอร์ดบางรุ่นมีให้ถึง
6
สล็อต
แต่ก็ขึ้นอยู่กับชิปเซตที่ติดตั้งมาบนเมนบอร์ดด้วยก็ตาม
รองรับการทำงานหรือไม่
โดยที่อัตราแบนด์วิทธ์ของ
PCI-Express
นี้
จะมีความเร็วขึ้นอยู่กับเวอร์ชัน
SATA
port :
สำหรับพอร์ต
SATA
นี้
เป็นพอร์ตที่ใช้สำหรับต่อพ่วงกับฮาร์ดไดรฟ์และออพติคอลไดรฟ์เป็นหลัก
จากเดิมที่ใช้บนมาตรฐาน
SATA1
ที่มีอัตราการรับ-ส่งข้อมูลที่
150MB/s
มาถึงวันนี้ก้าวสู่มาตรฐาน
SATA3
ที่ให้แบนด์วิทธ์สูงถึง
600MB/s
สิ่งที่ผู้ใช้ต้องให้ความสำคัญก็คือ
จำนวนที่ต้องเพียงพอต่อการใช้งานหรือเผื่อสำหรับการอัพเกรดในอนาคตได้
เมนบอร์บางรุ่นอาจมีมาให้
6
พอร์ต
แต่บางรุ่นอาจให้ถึง 8-10
พอร์ต
ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าต้องการใช้งานสำหรับต่อพ่วงอุปกรณ์มากน้อยเพียงใด
นอกจากนี้หากต้องการใช้งานต่อพ่วงผ่านระบบ
RAID
ก็ควรจะต้องเลือกชิปเซตที่สนับสนุน
RAID
ตามที่จะใช้งาน
ซึ่งโดยส่วนใหญ่ชิปเซ็ตที่มีให้ในปัจจุบัน
ก็จะรองรับการทำ RAID
0, 1, 0+1, 5 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้งานกันโดยทั่วไปอยู่แล้ว
ภาพที่
5
แสดงพอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
Port
connector :
เป็นเรื่องของพอร์ตต่อพ่วงอุปกรณ์ด้านหลังเครื่อง
ถือเป็นส่วนที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน
ผู้ใช้ควรจะต้องพิจารณาตามความเหมาะสม
เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งาน
เพราะโอกาสที่จะเพิ่มเติมเหมือนกับส่วนอื่นๆ
เป็นไปได้ยาก
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชันบางอย่างที่ค่อนข้างมีความสำคัญ
หากต้องการใช้แบบใด
ก็ควรจัดหามาให้ครบ
โดยที่เราสามารถแบ่งพอร์ตต่างๆ
ออกเป็น 3
ส่วนหลักๆ
คือ
Connector
: ส่วนของพอร์ตต่อพ่วงอุปกรณ์
อย่างเช่น USB,
e-SATA, FireWire, LAN หรือ
PS/2
ซึ่งหากใช้พอร์ตใดบ่อยหรือมีอุปกรณ์ต่อพ่วงจำนวนมาก
อย่างเช่น USB
ก็ต้องดูด้วยว่ามี
USB
3.0 กี่พอร์ตหรือ
2.0
เท่าใด
รวมถึงพอร์ตอื่นๆ จำเป็นต้องใช้หรือไม่
ควรดูให้ละเอียดถี่ถ้วน
Sound
:
ส่วนของระบบเสียง
พอร์ตสำหรับระบบเสียงพื้นฐาน
ก็จะประกอบด้วย Line-In,
Line-Out, Rear, Microphone รวมถึงพอร์ต
Optical
ที่เป็นแบบสัญญาณดิจิตอล
แต่เมนบอร์ดบางรุ่นอาจจะมาพร้อม
Sound
Card แยกส่วนออกมาติดตั้งเฉพาะ
ซึ่งให้คุณภาพเสียงที่ดีตามชิปสังเคราะห์ที่มีมาด้วยเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่ชอบเรื่องของเสียง
Display
:
ส่วนของพอร์ตการแสดงผล
ในปัจจุบันจะประกอบด้วยพอร์ต
HDMI
เป็นหลัก
ซึ่งจะยังมีบางรุ่นที่ใส่แบบ
D-Sub
หรือ
DVI
มาด้วย
เนื่องจากซีพียูหลายรุ่นมาพร้อมกับกราฟิกออนซีพียู
ดังนั้นแล้วในกรณีที่ต้องการใช้กราฟิกดังกล่าว
ก็ต้องเลือกเมนบอร์ดที่มีพอร์ตสำหรับการแสดงผลมาให้ด้วย
แต่ประเด็นสำคัญก็คือ
เลือกให้ตรงกับการแสดงผลของผู้ใช้เองด้วย
ว่าใช้กับพาแนลแบบใด
ไม่อย่างนั้นอาจจะต้องหาอุปกรณ์ที่เป็นตัวแปลงมาใช้แทน
เทคโนโลยีของเมนบอร์ดในปี
2016
เทคโนโลยีพอร์ต
Thunderbolt
Dual
Port Thunderbolt™ Motherboards
เมนบอร์ด
GIGABYTE
7 series จะมาพร้อมกับ
dual
on board Thunderbolt™ ports
สำหรับช่วยเสริมประสิทธิภาพในการโอนถ่ายข้อมูลร่วมกับอุปกรณ์ความเร็วสูงที่
ต้องการสมรรถนะที่มากยิ่งขึ้น
เหนือชั้นด้วยความสามารถในการโอนถ่ายข้อมูลขนาด
1TB
ในระยะเวลาเพียงห้านาที
และรองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง
12
ตัว
พร้อมสนับสนุนการแสดงผลในระบบดิจิตอลได้มากถึง
3
มอนิเตอร์,
ซึ่งด้วยประสิทธิภาพอันยอดเยี่ยมของเมนบอร์ด
GIGABYTE
Thunderbolt™ นี้
จะช่วยทำให้การเชื่อมต่อและการส่งต่อข้อมูลร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์
เดสก์ท็อปพีซีมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เมนบอร์ด
GIGABYTE
Thunderbolt™ จะอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ได้มากถึง
12
ตัวพร้อมกันนั้นก็ยังสามารถส่งผ่านข้อมูลที่มีความกว้างของสัญญาณในระดับ
10Gbps
ซึ่งรวมถึง
PCIe
และ
DisplayPort
เมนบอร์ด
GIGABYTE
Thunderbolt™
นับเป็นนวัตกรรมใหม่ในการกำหนดแนวของเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปที่ง่ายต่อ
เชื่อมต่ออุปกรณ์สตอเรจ
และหน้าจอความละเอียดสูง
โฉมใหม่ของเทคโนโลยีที่สามารถส่งผ่านข้อมูลด้วยความเร็วที่เหนือกว่าอุปกรณ์
ใดๆ ที่เคยพบเห็น
ภาพที่
6
แสดงพอร์ต
Thunderbolt
เทคโนโลยี
5-Way
Optimization
เทคโนโลยี
5-Way
Optimization
นั้นจะเป็นฟีเจอร์ที่สร้างความสะดวกสบายในการโอเวอร์คล๊อกสำหรับผู้ที่
เริ่มต้นหรือยังไม่มีความรู้มากมายนัก
ด้วยวิธีง่ายๆเพียงคลิ๊กเดียว
เมนบอร์ดก็จะจัดการกับ 5
ฟังก์ชันหลักๆให้เราอย่างอัตโนมติได้แก่
การเพิ่มความเร็ว CPU,
จัดการระบบเน็ตเวิร์ค
ระบบเสียง (Turbo
App)
และเพิ่มความเร็วรอบพัดลมพร้อมทั้งวิเคราะห์การปรับความเร็วรอบของพัดลมให้
เหมาะสมกับภาวะนั้นๆ (Fan
Xpert 3),
ประมวลผลวิเคราะห์หาความเร็วซีพียูที่ที่สูงที่สุดและมีเสถียรภาพ
ที่สุด(TPU)
พร้อมทั้งจัดการเรื่องการจ่ายพลังงานให้เหมาะสมกับความเร็วที่ได้ทำการ
โอเวอร์คล๊อกให้ (DIGI+
Power)
และสุดท้ายจัดการปิดฟีเจอร์บางอย่างที่ไม่จำเป็นเพื่อการประหยัดพลังงาน
(EPU)
ภาพที่
7
แสดง
เทคโนโลยี 5-Way
Optimization
เทคโนโลยี
Fan
Xpert 3
เทคโนโลยี
Fan
Xpert 3 นั้นจะมีอยู่สองส่วนด้วยกันคือ
ส่วนของการควบคุมการทำงาน
โดยตัวเมนบอร์ดหรือตัวพินสำหรับเสียบพัดลมบนเมนบอร์ดนั้น
จะสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวมันเองว่า
พัดลมที่เราเสียบใช้งานนั้นเป็นแบบ
PWM
หรือ
DC
Fan ทั้งนี้ก็เพราะว่าทาง
ASUS
จะเลือกใช้ขั้วต่อพัดลมในแบบ
4
pin ทั้งหมดแต่มันก็สามารถรองรับการทำงานหรือการควบคุมได้ทั้งพัดลมในแบบ
PWM/DC
ได้ในขั้วเดียวกัน
ส่วนของเล่นชิ้นใหม่ที่เพิ่มเข้ามาคือ
Fan
Extension Card หรือพูดง่ายๆว่าเป็นขั้วต่อพัดลมฮับ
(Fan
HUB) ที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มจำนวนการเชื่อมต่อพัดลมที่มากขึ้น
โดยเฉพาะกับผู้ที่ใช้ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ
โดยเจ้า Fan
HUB ตัวนี้จะมีช่องจ่ายไฟเลี้ยง
ต่างหากโดยตรงจาก
PSU
และมันจะยังคงทำงานร่วมกับตัวเมนบอร์ดที่
BIOS
นั้นจะยังสามารถควบคุมการทำงานได้เหมือนๆกับขั้วต่อพัดลมบนเมนบอร์ด
ภาพที่
8
แสดงเทคโนโลยี
Fan
Xpert 3
อ้างอิง
http://www.เกร็ดความรู้.net/%
https://papraew.wordpress.com/
http://www.
http://www.devasnatural.com/
http://www.itemxp.net/
http://th.gigabyte.com/
http://notebookspec.com/%E0%
เรียบเรียงโดย
นาย ธเนศ นวลอยู่
นาย นพดล แจ้งพรมอินทร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น