ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
คือ
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่บรรจุข้อมูลแบบไม่ลบเลือน
มีลักษณะเป็นจานโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กซึ่งหมุนอย่างรวดเร็วเมื่อทำงาน
การติดตั้งเข้ากับตัวคอมพิวเตอร์สามารถทำได้ผ่านการต่อเข้ากับแผงวงจรหลัก
(motherboard)
ที่มีอินเตอร์เฟซแบบขนาน
(PATA)
, แบบอนุกรม
(SATA)
และแบบเล็ก
(SCSI)
ทั้งยังสามารถต่อเข้าเครื่องจากภายนอกได้ผ่านทางสายยูเอสบี,
สายไฟร์ไวร์
รวมไปถึงอินเตอร์เฟซอนุกรมแบบต่อนอก
(eSATA)
ซึ่งทำให้การใช้ฮาร์ดดิสก์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้นเมื่อไม่มีคอมพิวเตอร์ถาวรเป็นของตนเอง
ความจุของฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปในปัจจุบันนั้นมีตั้งแต่
20
จิกะไบต์
ถึง 3
เทระไบต์
ขนาด
8
นิ้ว
(241.3
มิลลิเมตร
×
117.5 มิลลิเมตร
×
362 มิลลิเมตร)
ขนาด
5.25
นิ้ว
(146.1
มิลลิเมตร
×
41.4 มิลลิเมตร
×
203 มิลลิเมตร)
ขนาด
3.5
นิ้ว
(101.6
มิลลิเมตร
×
25.4 มิลลิเมตร
×
146 มิลลิเมตร)
เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ
(Desktop)
หรือเซิร์ฟเวอร์
(Server)
มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่
10,000,
7,200 หรือ
5,400
รอบต่อนาที
โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่
80
จิกะไบต์
ถึง 3
เทระไบต์
ขนาด
2.5
นิ้ว
(69.85
มิลลิเมตร
×
9.5–15 มิลลิเมตร
×
100 มิลลิเมตร)
เป็นฮาร์ดดิสก์สำหรับคอมพิวเตอร์พกพา
แล็ปท็อป,
UMPC, เน็ตบุ๊ก,
อุปกรณ์มัลติมีเดียพกพา
มีความเร็วในการหมุนจานอยู่ที่
5,400
รอบต่อนาที
โดยมีความจุในปัจจุบันตั้งแต่
60
จิกะไบต์
ถึง 1
เทระไบต์
ขนาด
1.8
นิ้ว
(55
มิลลิเมตร
×
8 มิลลิเมตร
×
71 มิลลิเมตร)
ขนาด
1
นิ้ว
(43
มิลลิเมตร
×
5 มิลลิเมตร
×
36.4 มิลลิเมตร)
ยิ่งมีความจุมาก
ก็จะยิ่งทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่ต้องการแหล่งเก็บข้อมูลที่มีความจุในปริมาณมาก
มีความน่าเชื่อถือในด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
และไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใหญ่กว่าอันใดอันหนึ่งได้นำไปสู่ฮาร์ดดิสก์รูปแบบใหม่ต่าง
ๆ เช่นกลุ่มจานบันทึกข้อมูลอิสระประกอบจำนวนมากที่เรียกว่าเทคโนโลยี
เรด รวมไปถึงฮาร์ดดิสก์ที่มีลักษณะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย
เพื่อที่ผู้ใช้จะได้สามารถเข้าถึงข้อมูลในปริมาณมากได้
เช่นฮาร์ดแวร์ NAS
หน่วยเก็บข้อมูลบนเครือข่าย
เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาทำเป็นเครื่อข่ายส่วนตัว
และระบบ SAN
(Storage area network)
เป็นการนำฮาร์ดดิสก์มาเป็นพื้นที่ส่วนกลางในการเก็บข้อมูล
หลักการทำงานของฮาร์ดดิสก์
หลักการบันทึกข้อมูลลงบนฮาร์ดดิสก์ไม่ได้แตกต่างจากการบันทึกลงบนเทปคาสเซ็ทเลย
เพราะทั้งคู่ต้องใช้สารบันทึกคือสารแม่เหล็กเหมือนกัน
สารแม่เหล็กนี้สามารถลบหรือเขียนได้ใหม่อยู่ตลอดเวลา
โดยเมื่อบันทึกหรือเขียนไปแล้ว
มันสามารถจำรูปแบบเดิมได้เป็นเวลาหลายปี
ความแตกต่างระหว่างเทปคาสเซ็ทกับฮาร์ดดิสก์มีดังนี้
สารแม่เหล็กในเทปคาสเซ็ท
ถูกเคลือบอยู่บนแผ่นพลาสติกขนาดเล็ก
เป็นแถบยาว แต่ในฮาร์ดดิสก์
สารแม่เหล็กนี้ จะถูกเคลือบอยู่บนแผ่นแก้ว
หรือแผ่นอะลูมิเนียมที่มีความเรียบมากจน
เหมือนกับกระจก
สำหรับเทปคาสเซ็ท
ถ้าคุณต้องการเข้าถึงข้อมูลในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง
ก็จะต้องเลื่อนแผ่นเทปไปที่หัวอ่าน
โดยการกรอเทป ซึ่งต้องใช้เวลาหลายนาที
ถ้าเทปมีความยาวมาก
แต่สำหรับฮาร์ดดิสก์
หัวอ่านสามารถเคลื่อนตัวไปหาตำแหน่งที่ต้องการในเกือบจะทันที
แผ่นเทปจะเคลื่อนที่ผ่านหัวอ่านเทปด้วยความเร็ว
2
นิ้วต่อวินาที
(5.08
เซนติเมตรต่อวินาที)
แต่สำหรับหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์
จะวิ่งอยู่บนแผ่นบันทึกข้อมูล
ที่ความเร็วในการหมุนถึง
30000
นิ้วต่อวินาที
(ประมาณ
170
ไมล์ต่อชั่วโมง
หรือ 270
กิโลเมตรต่อชั่วโมง)
ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์เก็บอยู่ในรูปของโดเมนแม่เหล็ก
ที่มีขนาดเล็กมาก ๆ
เมื่อเทียบกับโดเมนของเทปแม่เหล็ก
ขนาดของโดเมนนี้ยิ่งมีขนาดเล็กเท่าไร
ความจุของฮาร์ดดิสก์จะยิ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น
และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ในเวลาสั้น
เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะปัจจุบันจะมีความจุของฮาร์ดดิสก์ประมาณ
500
จิกะไบต์
ถึง 10
เทระไบต์
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์
เก็บอยู่ในรูปของไฟล์
ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่เรียกว่า
ไบต์ (แอสกี
ที่แสดงออกไปตัวอักษร รูปภาพ
วิดีโอ และเสียง)
โดยที่ไบต์จำนวนมากมายรวมกันเป็นคำสั่ง
หรือโปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
มีหัวอ่านของฮาร์ดดิสก์อ่านข้อมูลเหล่านี้
และนำข้อมูลออกมาผ่านไปยังตัวประมวลผลเพื่อคำนวณและแปรผลต่อไป
เราสามารถคิดประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ได้
2
ทางคือ
อัตราการส่งผ่านข้อมูล
(Data
rate) คือ
จำนวนไบต์ต่อวินาที
ที่หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์สามารถจะส่งไปให้กับซีพียูหรือตัวประมวลผล
ซึ่งปกติมีอัตราประมาณ 5
ถึง
400
เมกะไบต์ต่อวินาที
เวลาค้นหา
(Seek
time) คือ
หน่วงเวลาที่หัวอ่านต้องใช้ในการเข้าไปอ่านข้อมูลตำแหน่งต่าง
ๆ ในจานแม่เหล็ก โดยปกติประมาณ
10
ถึง
20
มิลลิวินาที
ซึ่งมักขึ้นอยู่กับความเร็วรอบในการหมุนจานแม่เหล็กของฮาร์ดดิสก์
การเก็บข้อมูล
ข้อมูลที่เก็บลงในฮาร์ดดิสก์จะอยู่บนเซกเตอร์และแทร็ก แทร็กเป็นรูปวงกลม ส่วนเซกเตอร์เป็นเสี้ยวหนึ่งของวงกลม อยู่ภายในแทร็กดังรูป แทร็กแสดงด้วยสีเหลือง ส่วนเซกเตอร์แสดงด้วยสีแดง ภายในเซกเตอร์จะมีจำนวนไบต์คงที่ ยกตัวอย่างเช่น 256 ถึง 512 ขึ้นอยู่กับว่าระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์จะจัดการแบ่งในลักษณะใด เซกเตอร์หลาย ๆ เซกเตอร์รวมกันเรียกว่า คลัสเตอร์ (Clusters) ขั้นตอน ฟอร์แมต ที่เรียกว่า การฟอร์แมตระดับต่ำ (Low -level format) เป็นการสร้างแทร็กและเซกเตอร์ใหม่ ส่วนการฟอร์แมตระดับสูง (High-level format) ไม่ได้ไปยุ่งกับแทร็กหรือเซกเตอร์ แต่เป็นการเขียน FAT ซึ่งเป็นการเตรียมดิสก์เพื่อที่เก็บข้อมูลเท่านั้น ประเภทของฮาร์ดดิสก์
1.1
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
EIDE
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
EIDE
(Enhanced Integrated Drive Electronic) เป็นมาตรฐานหลักในปัจจุบัน
โดยพัฒนาต่อจากมาตรฐานฮาร์ดดิสก์ในแบบเดิม
ซึ่งเคยจากัดความจุของข้อมูลได้เพียง
540
MBมาตรฐาน
EIDE
นี้
จะใช้สายชนิดสัญญาณ 80
Pin เชื่อมต่อระหว่างฮาร์ดดิสก์กับช่องต่อ
IDE
บนเมนบอร์ด
อีกทั้งยังสนับสนุนการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ
เช่น ไดร์ฟ CD-ROM/CD-RW
, ไดร์ฟ
DVD
เป็นต้น
วิธีการรับส่งข้อมูลของฮาร์ดดิสก์แบบ
EIDE
PIO
mode
|
อัตราการรับส่งข้อมูล
(MB./sec)
|
อินเตอร์เฟส
|
0
|
3.3
|
ATA
|
1
|
5.2
|
ATA
|
2
|
8.3
|
ATA
|
3
|
11.1
|
ATA-2
|
4
|
16.6
|
ATA-2
|
ภาพที่2.
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
SCSI
1.2
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
SCSI
SCSI
(small Computer System Interface) เรียกว่า
สกัสซี่
เป็นมาตรฐานฮาร์ดดิสก์อีกแบบหนึ่งที่รวมเอาแผงวงจรควบคุมไว้ที่ฮาร์ดดิสก์และใช้
Host
Adapter Card (หรือSCSI
Card) เชื่อมต่อกับเมนบอร์ด
ซึ่งใช้รูปแบบเดียวกับ IDE
แต่
SCSI
สามารถนาไปใช้งานร่วมกับฮาร์ดแวร์ได้หลากหลาย
โดยการอ้างอิงด้วยบัส
ฮาร์ดดิสก์
SCSI
โดยทั่วไปมักจะมีขนาด
และความเร็วสูงกว่า EIDE
แต่ก็ไม่จาเป็นเสมอไป
เพราะฮาร์ดดิสก์ SCSI
รุ่นแรกๆ
นั้นมีอัตราการรับ/ส่งข้อมูลพียง
10
MB/s ซึ่งจะช้ากว่าฮาร์ดดิสก์
EIDE
ส่วนฮาร์ดดิสก์
SCSI
รุ่นใหม่ๆ
นั้นมีความเร็วสูงมาก
คือมีอัตรารับ/ส่งข้อมูลมากกว่า
40
MB/s ขึ้นไป
จนถึง 160
MB/s
SCSI
เป็นอินเตอร์เฟสที่แตกต่างจากอินเตอร์เฟสแบบอื่น
ๆ มาก ความจริงแล้ว SCSI
ไม่ได้เป็น
อินเตอร์เฟสสำหรับ ฮาร์ดดิสก์
โดยเฉพาะ ข้อแตกต่างที่สำคัญที่สุดได้แก่
อุปกรณ์ที่จะนำมาต่อกับอินเตอร์เฟสแบบนี้
จะต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีความฉลาดหรือ
Intelligent
พอสมควร
(มักจะต้องมีซีพียู
หรือหน่วยความจำของตนเองในระดับหนึ่ง)
โดยทั่วไป
การ์ดแบบ SCSI
จะสามารถต่อ
อุปกรณ์ได้ 7
ตัว
แต่การ์ด SCSI
บางรุ่นอาจต่ออุปกรณ์ได้ถึง
14
ตัว
(SCSI-2)
ในทางทฤษฎีแล้ว
เราสามารถนำอุปกรณ์หลายชนิด
มาต่อเข้าด้วยกันผ่าน SCSI
ได้เช่น
ฮาร์ดดิสก์ เทปไดร์ฟ ออปติคัลดิสก์
เลเซอร์พรินเตอร์ หรือแม้กระทั่งเมาส์
ถ้าอุปกรณ์เหล่านั้น
มีอินเตอร์เฟสที่เหมาะสม
มาดูความเร็วของการรับส่งข้อมูลของ
SCSI
แบบต่าง
ๆ กันดีกว่า
SCSI
|
Fast
|
Wide
|
Fast
|
Wide
|
Ultra
|
Ultra
Wide |
Ultra
2
|
Ultra
3
(Ultra160) |
|
บัสข้อมูล
(บิต)
|
8
|
8
|
19
|
16
|
32
|
16
|
32
|
16
|
32
|
ความถี่
(MHz)
|
5
|
10
|
5
|
10
|
10
|
20
|
20
|
40
|
40
|
รับส่งข้อมูล
(MB/s)
|
5
|
10
|
10
|
20
|
40
|
40
|
80
|
80
|
160
|
คอนเน็คเตอร์
|
SCSI-1
|
SCSI-2
|
SCSI-2
|
SCSI-2
|
SCSI-2
|
SCSI-3
|
SCSI-3
|
SCSI-3
|
SCSI-3
|
ภาพที่3.
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
Serial
ATA
1.3
ฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
Serial
ATA
มาตรฐาน
Serial
ATA เป็นอินเทอร์เฟสใหม่ที่เข้ามาแทนที่มาตรฐาน
EIDE
ที่ใช้งานกันอยู่
โดยการทางานของฮาร์ดดิสก์มาตรฐาน
Serial
ATA จะแตกต่างออกไป
คือหันมาใช้ระบบการรับ/ส่งข้อมูลในแบบอนุกรม
(Serial)
แทนแบบขนาน
(Parallel)
ที่ใช้อยู่เดิมในฮาร์ดดิสก์
EIDE
ซึ่งไม่สามารถเพิ่มความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลได้สูงกว่านี้
สาหรับ Serial
ATA นั้น
เวอร์ชั่น 1.0
จะมีความเร็วในการรับ/ส่งข้อมูลถึง
150
MB/s
สายเชื่อมต่อของมาตรฐาน
Serial
ATA นั้น
จะมีขนานเล็กลงกว่าแบบ EIDE
ที่ใช้สายเคเบิลแบบ
80
เส้นและ
40
เส้น
ซึ่งทาให้ระบบการไหลเวียนอากาศไม่ดีนัก
Serial
ATA จะใช้สายสัญญาณขนาดเท่าๆ
กับสายโทรศัพท์
ทาให้มีพื้นที่การไหลเวียนของอากาศภายในเครื่องได้ดีกว่า
พร้อมทั้งใช้พลังไฟต่ากว่าด้วย
ถัดจาก
EIDE
ในปัจจุบันก็มีการพัฒนามาตราฐานการอินเตอร์เฟส
ที่มีความเร็วสูงยิ่งขึ้นไปอีก
คือแบบ Ultra
DMA/2 หรือเรียกว่า
ATA-33
(บางทีเรียก
ATA-4)
ซึ่งเพิ่มความเร็วขึ้นไป
2
เท่าเป็น
33
MHz และแบบ
Ultra
DMA/4 หรือ
ATA-66
(หรือ
ATA-5)
ซึ่งกำลังเป็นมาตราฐานอยู่ในปัจจุบัน
โดยมีรายละเอียดดังนี้
DMA
mode
|
อัตราการรับส่งข้อมูล
(MB./sec)
|
อินเตอร์เฟส
|
Ultra
DMA/2
(UDMA2 หรือ UDMA/33) |
33.3
|
ATA-33
(ATA-4)
|
Ultra
DMA/4
(UDMA4 หรือ UDMA/66) |
66.6
|
ATA-66
(ATA-5)
|
นอกจากนี้
ปัจจุบันเริ่มจะเห็น ATA-100
กันบ้างแล้วในฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่
ๆ บางยี่ห้อ
ส่วนประกอบของฮาร์ดดิสก์
1.หัวอ่าน
(Head)
เป็นส่วนหนึ่งของแขนหัวอ่าน
ซึ่งเจ้าหัวอ่านตัวนี้สร้างจากขดลวด
เพื่อใช้อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก
โดยการรับคำสั่งจากตัวคอนโทรลเลอร์
ก่อนเกิดความเหนี่ยวนำทางแม่เหล็ก
และไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสนามแม่เหล็ก
และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลนั่นเอง
ภาพที่4.
หัวอ่าน
2.แขนหัวอ่าน
(Actuator
Arm) มีลักษณะเป็นแท่งเหล็กยาวๆ
ซึ่งสามารถรับคำสั่งจากวงจรให้เลื่อนไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้
ไม่ว่าจะเป็นอ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่นแม่เหล็ก
โดยต้องทำงานร่วมกับหัวอ่าน
ภาพที่5.แขนหัวอ่าน
3.จานแม่เหล็ก
(Platters)
มีลักษณะเป็นจานกลมๆ
เคลือบด้วยสารแม่เหล็กวางซ้อนกันหลายๆ
ชั้นขึ้นอยู่กับความจุ
เจ้าสารแม่เหล็กที่เองที่เป็นข้อมูลต่างๆ
ของเรา โดยข้อมูลนั้นจะถูกบันทึกในลักษณะของเลข
0
และ
1
แผ่นแม่เหล็กนั้นติดกับมอเตอร์สำหรับหมุน
(Spindle
Motor) และสามารถเก็บข้อมูลได้ทั้ง
2
ด้าน
ภาพที่6.จานแม่เหล็ก
4.มอเตอร์หมุนแผ่นแม่เหล็ก
(Spindle
Motor)
เป็นตัวควบคุมจานแม่เหล็กให้หมุนไปยังตำแหน่งที่ต้องการเพื่อบันทึก
หรือแก้ไขข้อมูล
ปกติมักมีความเร็วในการหมุนประมาณ
7200
รอบต่อนาที
แต่ด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิมทำให้ตัวมอเตอร์มาสามารถเพิ่มความเร็วได้ถึง
1
หมื่นรอบต่อนาที
ภาพที่7.มอเตอร์หมุ่นจานแม่เหล็ก
5.เคส
(Case)
หรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม
ซึ่งเป็นที่บรรจุส่วนต่างๆ
ที่ใช้ในการทำงานของฮาร์ดดิสก์
ภาพที่8.เคสหรือตัวกล่องสี่เหลี่ยม
เทคโนโลยีของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน
ฮาร์ดดิสก์ยุคปัจจุบัน
มีส่วนประกอบสำคัญ คือ
แถบแม่เหล็กบันทึกข้อมูลบนจานหมุนหัวอ่านแถบแม่เหล็ก
คอยอ่านข้อมูล
เทคโนโลยีการบันทึกข้อมูลเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาฮาร์ดดิสก์เพื่อให้มีความจุหนาแน่นมากขึ้นได้สำเร็จหัวอ่าน-เขียนในแบบเดิมเป็นชนิด
Thin
Film Inductive (TFI)
ซึ่งมีโครงสร้างเป็นแผ่นฟิล์มบางๆที่มีขดลวดพันอยู่โดยรอบสำหรับหัวอ่านซึ่งอาศัยหลักการเหนี่ยวนำให้เกิดความต่างศักย์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กตามที่กล่าวมาข้างต้นนั้น
พบว่าหัวอ่านชนิด
TFIมีข้อจำกัดในการเพิ่มความจุหนาแน่นของข้อมูลกล่าวคือหัวอ่านประเภทนี้จะให้ค่า
Sensitivity
ที่ลดลงเมื่อมีขนาดเล็กลงต่อมาได้มีการพัฒนาหัวอ่านประเภท
Magneto
Resistance เพื่อช่วยเพิ่ม
Sensitivity
โดยหัวอ่านประเภทใหม่นี้มีโครงสร้างเป็นแผ่นฟิล์มโลหะบางๆที่มีคุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานได้ดีตามการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กเรียกคุณสมบัติดังกล่าวว่า
Magneto-resistive
(MR) sensing เมื่อหัวอ่านทำงาน
กระแสจะจ่ายมาที่ขดลวดที่พันอยู่โดยรอบของหัวอ่านความต่างศักย์ค่อมหัวอ่านซึ่งขึ้นกับค่าความต้านทานนี้จะบ่งบอกถึงข้อมูลที่ต้องการอ่านได้
ต่อมา MR
Head ได้รับการพัฒนามาเป็นหัวอ่านประเภท
Giant
Magneto-resistance
(GMR) ที่ให้
Sensitivity
เพิ่มขึ้น
เทคโนโลยีหัวอ่านชนิด MR
และ
GMR
เริ่มนำมาใช้ในฮาร์ดดิสก์ในช่วงครึ่งแรกและครึ่งหลังของช่วงศตวรรษ1990-2000
และทำให้สมรรถนะเชิงความจุ
(Arial
Density) ของฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้นในอัตรา60%
และ
100%
ตามลำดับ
เทคโนโลยีการพัฒนาของฮาร์ดดิสก์นั้นค่อนข้างจะช้า
ไม่เหมือนอุปกรณ์อื่นๆ
บนโน๊ตบุ๊คแต่การเปลี่ยนแปลงในแต่ละครั้ง
ส่วนใหญ่จะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางแบบ
ก้าวกระโดดเช่นการพัฒนาจากอินเตอร์เฟสแบบ
IDE
มาเป็นแบบ
SATA
[Serial ATA]
หรือจะเป็นการออกแบบให้ฮาร์ดดิสก์มีขนาดที่เล็กและเบาลงซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีของฮาร์ดดิสก์สำหรับโน๊ตบุ๊คที่เห็นได้ชัดคงจะเป็นฮาร์ดดิสก์ที่มีพอร์ตเชื่อมต่อแบบ
SATA
[Serial ATA] และ
ฮาร์ดดิสก์ SSD
[Solid State Drive] แต่ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์แบบ
SSD
ยังมีราคาค่อนข้างสูงแต่คาดว่าในอนาคตฮาร์ดดิสก์แบบ
SSD
น่าจะเข้ามาแทนที่ฮาร์ดดิสก์
SATA
ในปัจจุบัน
เพราะฮาร์ดดิสก์แบบ SSD
มีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลรวดเร็วกว่าฮาร์ดดิสก์รุ่น
SATA
อยู่พอสมควร
แถมยังมีความบางเบากว่ารุ่มก่อนหน้านี้อีกด้วย
อ้างอิง
http://www.เกร็ดความรู้.com
http://www.vcharkarn.com
http://www.amno.moph.go.th
เรียบเรียงโดย
นาย สรายุทธ ปิ่นทอง
นาย พิเชษฐ มีทุน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น