ภาพ15HDMI
- HDMI
ย่อมาจาก
High-Definition
Multimedia Interface หมายถึงการเชื่อมต่อโดยส่งข้อมูลแบบ
Multimedia
เช่น
ข้อมูลภาพและเสียง เป็นต้น
ในรูปแบบที่มีความละเอียดสูง
และไม่มีการบีบอัดข้อมูล
ทำให้ผลรับที่ได้มีคุณภาพที่สูงขึ้นอย่างมาก
ปัจจุบัน
HDMI
ถือได้ว่าเป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อสัญญาณภาพและเสียง
สำหรับระบบโฮมเธียเตอร์ในยุคปัจจุบัน
เนื่องด้วยความสะดวกที่สายเส้นเดียวแต่รองรับทั้งระบบภาพความละเอียดสูง
และเสียงเซอร์ราวด์มัลติแชนเนล
พร้อมกับราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับคุณสมบัติที่ได้
วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับมาตรฐาน
HDMI
ซึ่งรวมถึงเวอร์ชั่นปัจจุบัน
คือ 1.4*
1.
ช่องต่อแบบเดียว
ช่องเดียวรองรับทั้งภาพ HD
และเสียงมัลติแชนเนล
เดิมทีการเชื่อมต่อสัญญาณของระบบโฮมเธียเตอร์ มีการแยกมาตรฐานช่องต่อสำหรับภาพ และเสียงมาโดยเฉพาะ (ซึ่งรวมถึงเสียงเซอร์ราวด์หลายช่องเสียง) ดังนั้นจำนวนเส้นสายต่างๆ ที่ต้องใช้ในระบบจึงมีจำนวนมาก นอกจากสร้างความสับสนยุ่งเหยิงแล้ว ยังยากต่อการเก็บซ่อนสายเหล่านั้นให้ดูเรียบร้อยสวยงาม แต่การมาถึงของ HDMI ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เพราะช่องต่อแบบเดียว ใช้สายเส้นเดียว รองรับทั้งภาพดิจิทัลความละเอียดสูง และเสียงรอบทิศทางหลายแชนเนลพร้อม ๆ กัน
เดิมทีการเชื่อมต่อสัญญาณของระบบโฮมเธียเตอร์ มีการแยกมาตรฐานช่องต่อสำหรับภาพ และเสียงมาโดยเฉพาะ (ซึ่งรวมถึงเสียงเซอร์ราวด์หลายช่องเสียง) ดังนั้นจำนวนเส้นสายต่างๆ ที่ต้องใช้ในระบบจึงมีจำนวนมาก นอกจากสร้างความสับสนยุ่งเหยิงแล้ว ยังยากต่อการเก็บซ่อนสายเหล่านั้นให้ดูเรียบร้อยสวยงาม แต่การมาถึงของ HDMI ทำให้ปัญหาเหล่านี้หมดไป เพราะช่องต่อแบบเดียว ใช้สายเส้นเดียว รองรับทั้งภาพดิจิทัลความละเอียดสูง และเสียงรอบทิศทางหลายแชนเนลพร้อม ๆ กัน
2.
รองรับการส่งสัญญาณดิจิทัลวิดีโอ
3D
ที่
1080p
ในตอนนี้เทรนด์ใหม่ที่กำลังมาคือ
เทคโนโลยีการนำเสนอภาพวิดีโอแบบสามมิติซึ่ง
HDMI
เป็นมาตรฐานการเชื่อมต่อที่ออกแบบมาให้รองรับการนำเสนอรูปแบบนี้เช่นกัน
โดยจะรองรับได้ถึงระบบ full
hd (3D 1080p/120Hz) ปัจจุบันโทรทัศน์ในต่างประเทศหลายๆ
ช่อง เริ่มมีการแพร่ภาพแบบสามมิติแล้ว
รวมถึงเกมพีซี และคอนโซลต่างๆ
แต่ที่แน่นอน คือ บลูเรย์
3D
มีให้เลือกซื้อหาแล้ว
หลายไตเติล
3.
รองรับความละเอียด
“โคตรสูง”
ปัจจุบันนั้นเราดูทีวีกันที่ความ
ละเอียดสูงสุดคือ 1080p
แต่มาตรฐาน
HDMI
v1.4 มองไปไกลกว่านั้น
โดยเวอร์ชั่นใหม่นี้จะรองรับความละเอียดได้สูงสุดถึง
3840
x 2160 pixels ที่
24Hz,
25Hz and 30Hz และ
4096
x 2160 pixels ที่
24Hz
แต่ความละเอียดดังกล่าวยังคงเป็นมาตรฐานสำหรับจอภาพในอนาคต
4.
เพิ่มช่องสัญญาณ
Ethernet
นอกเหนือจากสัญญาณภาพและเสียงความ
ละเอียดสูง HDMI
ยังรวมเอาช่องสัญญาณ
ethernet
เข้าไปด้วย
ทำให้อุปกรณ์นั้นสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้
อุปกรณ์ใหม่ๆ
จึงเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้สะดวกมากยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเชื่อมต่อสาย
LAN
ต่างหากเหมือนที่ผ่านมา
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูงสุดอยู่ที่
100Mbps
(การจะใช้งานฟีเจอร์นี้ต้องใช้สาย
HDMI
with Ethernetกับอุปกรณ์ที่รองรับมาตรฐาน
Ethernet
over HDMI)
5.
มี
Audio
Return Channel (ARC)
ในเวอร์ชั่น
1.4
นี้
อุปกรณ์ทีวี สามารถส่งสัญญาณเสียงกลับไปยัง
AV
Reciever ได้โดยใช้สายสัญญาณ
HDMI
เส้นเดิม
(เส้นเดียวกับที่ใช้เชื่อมต่อสัญญาณภาพจาก
AVR
ไปยังทีวี)จึงไม่ต้องหาสายเสียงแยกต่างหากเหมือนที่ผ่านมา
6.
รองรับ
Color
Space ที่กว้างขึ้น
มีการรองรับ
sYCC601,
Adobe RGB, และ
Adobe
YCC601 เพิ่มเข้ามาเพื่อการแสดงรูปภาพที่ให้สีที่สมจริงมากยิ่งขึ้น
เหมาะสำหรับผู้ที่ชอบความสมจริงของระดับสีที่กว้างขวางใกล้เคียงกับธรรมชาติ
เช่น ผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพเป็นชีวิตจิตใจ
7.
มีหัวต่อแบบใหม่อีกสองแบบ
HDMI
v1.4 เป็นครั้งแรกที่กำหนดมาตรฐานหัวต่อ
(Connector)
ขนาดเล็กแบบ
micro
เข้ามาให้ได้ใช้กัน
โดยหัวต่อแบบ micro
connector นี้
จะใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก
เช่น โทรศัพท์มือถือ,
กล้องดิจิตอล,
pmp (portable media player) โดยข้อมูลทางสเป็กนั้น
สายชนิดนี้เรียกว่าเป็นชนิด
D
ส่วนอีกแบบคือสายชนิด
E
ที่เรียกว่า
Automotive
Connection 8.System
วัตถุประสงค์ไว้ใช้งานกับมาตรฐานอุปกรณ์สำหรับยานยนต์
ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาใหม่จาก
HDMI
v1.4 ทำให้ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่
จากฟีเจอร์ใหม่ที่มีประโยชน์มากมายดัง
ที่กล่าวไปข้างต้น คงต้องบอกว่า
จำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ไปเป็นรุ่นใหม่
ที่รองรับมาตรฐาน HDMI
1.4 เพราะฟีเจอร์ใหม่เหล่านี้เกี่ยวเนื่องกับความสามารถของระบบฮาร์ดแวร์
จึงไม่สามารถอัพเกรดโดยซอฟต์แวร์/เฟิร์มแวร์ได้
9.
รูปแบบสาย
HDMI
ในปัจจุบัน
ในส่วนของ
สาย HDMI
นั้น
ถึงแม้จะเกี่ยวข้องกับการรองรับฟีเจอร์ใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาก็จริง
ทว่าไม่สามารถอ้างอิงคุณสมบัติตาม
HDMI
Version ได้
เพื่อป้องกันความสับสน
ปัจจุบันทางผู้กำหนดมาตรฐาน
(HDMI
LLC)ได้กำหนดมาตรฐานการอ้างอิงรูปแบบสาย
HDMI
ออกมา5
กลุ่มใหญ่ๆ
คือ HDMI
Standard, HDMI Standard with Ethernet, HDMI Standard Automotive, HDMI
High Speed และHDMI
High Speed with Ethernet
อุปกรณ์ในปัจจุบันที่รองรับมาตราฐาน HDMI
-
HDTVs
-
Blu-ray Disc players
-
Multimedia PCs
-
Gaming systems
-
Digital
camcorders and more.
การบอกคุณลักษณะของจอภาพจอภาพโดยทั่วไปมีทั้งที่เป็นสีเดียว (Monochrome) อาจจะเป็นสีเทา สีส้ม หรือสีขาว บนสีดำ และจอภาพแบบหลายสี (Colour) สามารถแสดงสีได้ตั้งแต่ 16,256, 65,536 และ 16,177,216 สี ปัจจุบันนิยมใช้จอภาพสีมากกว่าจอสีเดียวขนาดความกว้างของจอภาพมีหลายขนาด ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปคือ ขนาด 14 และ 15 นิ้ว แล้วถ้าใช้งานสิ่งพิมพ์หรือ ออกแบบกราฟิก อาจใช้จอใหญ่มากขึ้น ขนาด 17 หรือ 21 นิ้ว ซึ่งก็จะมีความละเอียดในการแสดงผลมากน้อยไม่เท่า กัน โดยความละเอียดของภาพจะมีหน่วยเป็น พิกเซล (Pixel) ในแนวตั้งและแนวนอน เช่น 640x480, 800x600, 1,024x768, 1,280x1,024 เป็นต้น ยิ่งมีขนาดของพิกเซลมาก ขนาดของภาพจะมีความละเอียดสูงมากขึ้น ทำให้มี เนื้อที่ใช้งานบนจอมากขึ้น
ลักษณะของจอภาพ มีดังนี้
1. จอภาพแบบ VGA (Video Graphics Array) มีความละเอียดของพิกเซล 640x480 จุด เหมาะสำหรับการใช้ งานตามบ้านทั่ว ๆ ไป มีขนาดของจอภาพ 14 หรือ 15 นิ้ว2. จอภาพแบบ SVGA (Super Video Graphics Array) จะมีความละเอียดของพิกเซล 800x600 จุด เหมาะ สำหรับใช้ในงานธุรกิจ หรือตามสำนักงานทั่ว ๆ ไป ขนาดที่นิยมคือ 14 หรือ 15 นิ้ว ส่วนจอที่มีความละเอียดของ พิกเซล 1,280x1,024 จุด เหมาะสำหรับใช้ในงานออกแบบกราฟิกต่าง ๆจอภาพในปัจจุบันจะเน้นเรื่องความปลอดภัยต่อผู้ใช้จากการแผ่รังสี เพราะหากเป็นจอรุ่นเก่า รังสีสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่แผ่ออกมาจากจออาจเป็นอันตรายต่อสายตาได้ ผู้ใช้จีงควรหาแผ่นกรองแสงมาติดไว้ที่จอภาพก็จะช่วยได้และปัจจุบัน จอภาพที่ใช้จะมีคุณสมบัติประหยัดพลังงาน ถึงเราจะเปิดทิ้งไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้ใช้งานก็จะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน มาก นอกจากนี้ในโปรแกรมวินโดวส์ยังมีสกรีนเซฟเวอร์ช่วยในการถนอมจอภาพด้วย
Monotor Technology
จอภาพทำงานโดยการแสดงภาพ ซึ่งอาจเป็นภาพกราฟิกหรือตัวอักษร ซึ่งเกิดจากการประมวลผลของการ์ดวีจีเอ (VGA Card) จอภาพแบ่งเป็น 2 ประเภท คือจอภาพสีเดียวหรือจอภาพโมโนโครม (
Monochrome) และจอสี ( Color Monitor) ปัจจุบันจอภาพสีเดียวนั้นไม่เป็นที่นิยมใช้กับคอมพิวเตอร์ หากจะมีใช้ก็เฉพาะงานเฉพาะอย่างเท่านั้น ส่วนที่นิยมใช้ก็คือจอสี โดยแบ่งได้อีกเป็น 3 ประเภท คือจอสีวีจีเอ (VGA = Video Graphics Array) และจอสี Super VGA (SVGA = Super Video Graphics Array ) และจอ LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งประเภทหลังนี้มีราคาแพงมาก จอภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคือจอ SVGA เนื่องจากมีราคาไม่แพงมากนัก และเหมาะกับ Application ที่ออกแบบให้มีความสามารถแสดงภาพกราฟิก นอกจากนี้ Application ประเภทมัลติมีเดียหรือเกมส์ต่างๆ ต่างก็ต้องการจอภาพที่มีความละเอียดสูง (High Resolution) สามารถแสดงสีได้หลายๆสีจอภาพมีหลักการทำงานแบบเดียวกับจอโทรทัศน์โดยจะมีกระแสไฟฟ้าแรงสูง ( High Voltage) คอยกระตุ้นให้อิเล็กตรอนภายในหลอดภาพแตกตัว อิเล็กตรอนดังกล่าวจะทำให้เกิดลำแสงอิเล็กตรอนไปกระตุ้นผลึกฟอสฟอรัสที่ฉาบอยู่บนหลอดภาพ เมื่อฟอสฟอรัสถูกกระตุ้นจากอิเล็กตรอนจะเกิดการเรืองแสงและปรากฏเป็นจุดสีต่างๆ (RGB Color) ซึ่งรวมเป็นภาพบนจอภาพนั่นเอง
Dot Pitch (Phosphor Pitch) คือความห่างระหว่างจุดของฟอสฟอรัสซึ่งฉาบอยู่บนหลอดภาพ ถ้าจุดแต่ละจุดห่างกันน้อยก็จะทำให้ภาพละเอียดมากขนาดระหว่างจุดของฟอสฟอรัสนั้นมีหลายขนาด เช่น 0.25, 0.26, 0.28, 0.29, 0.31ฯลฯ มีหน่วยเป็นมิลลิเมตร ตัวเลขดังกล่าวนี้ยิ่งน้อยยิ่งดี เพราะแสดงว่าความห่างระหว่างผลึกฟอสฟอรัสยิ่งน้อยจะยิ่งแสดงภาพได้ละเอียดมากขึ้น เมื่อนำขนาดของความห่างและความละเอียดของการแสดงภาพมากำหนดประเภทของจอภาพจะได้ประเภทของจอภาพดังต่อไปนี้จอสีวีจีเอ ขนาด 14 นิ้ว ( 640 x 480 ) สามารถแสดงรูปขนาด 11.2 x 8.4 นิ้ว จะมีขนาดพิกเซลประมาณ 0.018 นิ้วหรือ 0.44 มิลลิเมตร ( ต้องไม่มากกว่านี้ )จอสีซุปเปอร์วีจีเอ ขนาด 14 นิ้ว (1024 x 768 ) จะมีขนาดของพิกเซล 0.28 มิลลิเมตร (ต้องไม่มากกว่านี้)Interlaced & Non-Interlaced
Interlaced คือการแสดง(สร้าง)ภาพแบบสลับเส้น ตัวอย่างเช่นในโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันจะใช้การแสดงภาพแบบ 625 เส้น และสลับการ Scan ภาพจากหน้าจอที่เห็นจะเกิดจากการ Scan ให้เกิดภาพ 2 รอบ โดยที่รอบแรกจะ Scan เส้นคู่ คือ 2,4, 6... จนครบ 624 รอบที่สองจะ Scan เส้นคี่คือ 1,3,5... .จนครบ 625Non-Interlaced คือ Scan ภาพแบบต่อเนื่อง เรียงจากเส้นที่ 1 จนจบจอภาพ จอภาพแบบนี้จะเหมาะกับคอมพิวเตอร์มากกว่าแบบแรกเพราะการต่อของจุดจะต่อเนื่องและลดการสั่นไหวของภาพสรุปก็คือ จอภาพแบบ Non-Interlaced คือจอภาพที่ไม่มีการกระโดดข้ามในเวลาที่ปืนยิงอิเล็คตรอน ยิงจุดออกมา โดยจะยิงออกมาจากบนลงล่างทีละเส้นต่อๆกันไป ส่วนจอภาพแบบ Interlaced การยิงออกมามีการกระโดดแถวเว้นแถวเพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ยังให้ภาพออกมาในระดับที่ใกล้เคียงแบบ Non Interlaced
Low-Radiation คือมีการกระจายรังสีต่ำ ตามมาตรฐาน MPR-II ของ SSI (Swedish National Institute of Radiation Protection) จอภาพที่มีการกระจายรังสีจะช่วยถนอมสายตา เนื่องจากการทำงานบนคอมพิวเตอร์นาน ๆ การทดสอบว่าจอภาพมีการกระจายรังสีต่ำหรือไม่นั้นทดสอบได้โดยเปิดสวิตช์จอภาพแล้วลองเอามือหรือช่วงแขนไว้ใกล้จอภาพให้มากที่สุด ถ้ารู้สึกถึงไฟฟ้าสถิตย์ แสดงว่าเป็นจอภาพแบบธรรมดา (หรือจะทดลองกับจอโทรทัศน์ก่อนก็ได้เพื่อจำความรู้สึก ยกเว้นว่าโทรทัศน์ก็เป็นแบบ Low Radiation ถ้าเป็นจอภาพ Low-Radiation จะแทบไม่รู้สึกเกี่ยวกับไฟฟ้าสถิตย์เลยResolution
Resolution คือความละเอียดของการแสดงภาพหรือสแกนภาพออกมาได้ความละเอียดมากเท่าไร ความสามารถในการแสดงภาพได้ละเอียดมากขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของจอภาพ VGA จะแสดงภาพได้ละเอียดน้อยกว่า SVGA ยิ่งกำหนดความละเอียดในการแสดงสีมากเท่าไร ภาพจะละเอียดมากขึ้น แต่ตัวอักษรบนจอภาพจะเล็กลง โดยจะบอกเป็นค่าสองค่า อย่างเช่น 1024 x 768 ซึ่งเมื่อคำนวณออกมาแล้วก็ คือจำนวนจุดที่จอภาพสามารถผลิตออกมาได้ ในกรณีนี้ เลขตัวแรกคือ Vertical คือจำนวนเส้นในแนวตั้งเท่ากับ 1024 เส้น เลขตัวต่อมาคือ Horizontal คือจำนวนเส้นในแนวนอนเท่ากับ 768 เส้น เมื่อเอาตัวเลข 2 ตัว มาคูณกัน ผลลัพธ์คือจำนวนจุดบนจอภาพซึ่งคือ ความละเอียด (Resolution)เทคโนโลยีจอภาพ
ในยุคที่สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์กำลังแข่งกันพัฒนาขีดความสามารถอย่างไม่หยุดหย่อน เช่นตอนนี้ นอกจากจะแข่งขันกันในเรื่องของหน่วยความจำที่มีขนาดความจุมากขึ้น รูปลักษณะภายนอกที่บางลง น้ำหนักที่เบาลง แบตเตอรี่ที่ใช้งานได้ยาวนานขึ้น สิ่งที่ขาดไปไม่ได้เลยก็คือการแข่งขันในเรื่องเทคโนโลยีจอภาพแสดงผลนั่นเอง ครับ สมาร์ทโฟนไหนจอภาพไม่ดีถ่ายรูปแล้วออกมาดูไม่สวย ก็คงยากที่จะครองใจผู้คนในยุคโซเชียลเน็ตเวิร์ค like & share นี้ได้ใช่ไหมล่ะครับ ถ้าคุณผู้อ่านคอลัมน์เทคโนโลยีวันพุธของผมคนไหนอายุเกิน 30 ปีขึ้นไป คงพอจำกันได้กับจอภาพหนา ๆ หนัก ๆ ของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโทรทัศน์ในยุคเก่า ๆ ที่เรียกกันว่า ซีอาร์ที (Cathode Ray Tube: CRT Monitor) ซึ่งต่อมาก็เสื่อมความนิยมลงเพราะคนหันไปใช้จอภาพแบน ๆ รุ่นใหม่ ๆ อย่างจอ LCD จอ LED หรือจอพลาสมาแทน ซึ่งนอกจากเรื่องของรูปลักษณะภายนอกที่กินพื้นที่น้อยลงดูทันสมัยมากกว่า แล้ว ในเรื่องของประสิทธิภาพการแสดงภาพและการประหยัดพลังงานก็ดีขึ้นกว่าจอหนา ๆ หนัก ๆ แบบเดิมมากอีกด้วย แต่อย่างที่พวกเรารู้กันครับว่าโลกเทคโนโลยีไม่เคยที่จะยอมหยุดนิ่งอยู่กับ ที่ ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีจอภาพแบบใหม่ที่กำลังมาแรงก็คงจะหนีไม่พ้น จอภาพชนิด OLED (Organic Light Emitting Diodes) นั่นเอง จอภาพ OLED นี้เป็นนวัตกรรมที่พลิกโฉมเปลี่ยนไปจากจอภาพในยุคแรก ๆ เกือบจะโดยสิ้นเชิงเลยล่ะครับ ในขณะที่จอภาพยุคก่อน ๆ มีกลไกการแสดงภาพหรือกลไกการให้กำเนิดแสงที่ประกอบขึ้นจากอุปกรณ์หลาย ๆ ชนิดที่ถูกใส่มาให้ทำงานร่วมกัน จอภาพชนิด OLED นี้กลับมีลักษณะเป็นเหมือนแค่แผ่นฟิล์มบาง ๆ ที่สารอินทรีย์ที่เรียงตัวกันอยู่ภายในมีคุณสมบัติสามารถเปล่งแสงได้ด้วย ตัวเองเมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ลักษณะของจอ OLED ที่เป็นสารเปล่งแสงด้วยตัวเองแทนที่จะเป็นกลไกหรืออุปกรณ์ซับซ้อนอยู่ภายใน นี้มีประโยชน์หลายอย่างเลยล่ะครับ อย่างแรกคือทำให้จอภาพชนิดนี้สามารถบางได้จนเหมือนแผ่นฟิล์มหรือแผ่นพลาสติก กลาย ๆ อย่างที่สองคือเวลาที่ต้องการแสดงภาพสีดำ ก็เพียงแค่ทำให้สารอินทรีย์บริเวณนั้นไม่มีการเปล่งแสงใด ๆ ผลก็จะได้สีดำที่ดำสนิทจริง ๆ ทำให้คอนทราสต์ของภาพสูงขึ้น แถมไม่กินพลังงานไฟฟ้า ซึ่งจุดนี้จะต่างกับจอภาพแบบ LCD ที่ใช้ระบบ backlight ที่ต้องใช้แสงหล่อเลี้ยงหน้าจออยู่ตลอดเวลา แม้จะแสดงภาพสีดำก็ไม่สามารถที่จะดับแสงของจุดบนจอภาพให้เป็นสีดำสนิทได้ จริง และอย่างสุดท้ายคือมุมมองการมองภาพที่กว้างขึ้นของจอ OLED ที่ผมบอกว่ามุมมองกว้างนี้ไม่ได้หมายความว่าจอ OLED นี้มีขนาดใหญ่กว่าหน้าจอแบบอื่น ๆ นะครับ แต่ด้วยลักษณะที่แต่ละจุดบนจอ OLED เปล่งแสงได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่แสงจากกลไกกำเนิดแสงภายในที่ถูกสะท้อนหรือส่งต่อขึ้นมาแสดงที่แผ่น หน้าจอ ทำให้เราสามารถมองภาพบนจอ OLED นี้ได้จากหลาย ๆ มุมหลาย ๆ องศาโดยที่ยังคงเห็นภาพชัดเจนอยู่ เปรียบเทียบกับหน้าจอประเภทอื่นที่ถ้าไม่มองจากมุมหน้าตรงแล้วก็จะเห็นภาพ ไม่ค่อยชัดนัก ถึงปี ค.ศ.2014 ณ ตอนนี้มีโทรทัศน์หน้าจอ OLED วางจำหน่ายในท้องตลาดอยู่หลายรุ่น มือถือเองก็มีบางรุ่นที่ทดลองใช้หน้าจอประเภทนี้บ้างแล้ว แม้จำนวนผลิตภัณฑ์จะยังน้อยและราคาก็ยังค่อนข้างแพง แต่คุณภาพของภาพและสีที่ได้จากจอแบบนี้ก็ได้ยินมาว่าอยู่ในระดับยอดเยี่ยม เลยทีเดียวนะครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ใช่ว่าจอ OLED นี้จะดีเลิศไปเสียหมดนะครับ นอกจากราคาที่ยังแพงอยู่ เทคโนโลยีที่ยังไม่ค่อยนิ่งแล้ว จุดบนจอ OLED ยังสามารถเกิดอาการที่เรียกว่า burn (ไหม้) ได้ด้วยครับ อาการที่ว่านี้เกิดจากการที่เราเปิดภาพหรือสีใด ๆ ค้างไว้บนจอ OLED นาน ๆ แล้วพอเปลี่ยนภาพไปแสดงภาพหรือสีอื่นบ้าง กลับมีจุดบางจุดบนจอที่ยังคงแสดงสีของภาพเดิมค้างอยู่นั่นเอง ลักษณะที่น่าสนใจที่สุดอีกประการหนึ่งของจอภาพแบบ OLED ที่ดึงดูดนักวิจัยทั่วโลกนั้น คือ ลักษณะที่ว่าจอประเภทนี้สามารถนำมาทำให้เป็นหน้าจอแสดงภาพที่มีความยืดหยุ่น สามารถถูกม้วนหรือดัดหรือบิดให้โค้งงอตามความต้องการได้ เป็นอีกหนึ่งหลักการที่สำคัญของการพัฒนา e-Paper หรือ กระดาษอิเล็กทรอนิกส์ ที่กำลังมาแรงเลยล่ะครับ ซึ่งล่าสุดในปีนี้เองทางบริษัท LG ก็ทำสำเร็จออกมาประมาณหนึ่งแล้ว ได้เป็นหน้าจอ OLED ขนาด 18 นิ้วที่สามารถม้วนได้เหมือนม้วนหนังสือพิมพ์จนกลายเป็นทรงกระบอกกลมเส้นผ่าน ศูนย์กลางแค่ 3 เซนติเมตรอันนึง และหน้าจอ OLED ขนาด 18 นิ้วที่มีความโปร่งแสงมาก ๆ อีกอันนึง แต่อย่างที่ผมเกริ่นไปก่อนหน้านี้ล่ะครับว่าเทคโนโลยีด้านนี้ยังอยู่ในช่วง กำลังเติบโต จอ OLED 18 นิ้วของ LG ตอนนี้ยังมีความละเอียดที่ต่ำอยู่มาก ในแวดวงการวิจัยและพัฒนาก็ยังมีประเด็นอื่น ๆ ให้คิดค้นหาวิธีแก้ไข ตัวอย่างเช่น ถ้าหน้าจอแบน ๆ บิดได้แบบนี้แล้วแบตเตอรี่หรือถ่านล่ะจะเป็นยังไง? หน้าจอแบบนี้จะรองรับการบิดโค้งได้สักกี่ครั้งก่อนจะเริ่มเสื่อมสภาพ? หน้าจอแบบนี้จะสามารถทำเป็นหน้าจอระบบสัมผัสได้ไหม? หรือ แม้แต่ประเด็นที่ว่าจะนำเซนเซอร์มาติดบนหน้าจอ OLED เพื่อให้รู้ว่าตอนนี้หน้าจอถูกบิดในลักษณะไหนจะได้ทำการโต้ตอบได้ถูกต้อง เป็นต้น ณ ตอนนี้ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ OLED จะยังไม่สามารถเข้ามาเป็นเทคโนโลยีหลักที่วางจำหน่ายอยู่กลาดเกลื่อนในท้อง ตลาดได้ แต่ในเมื่อโลกเทคโนโลยีของเราหมุนด้วยความเร่งอยู่ตลอดเวลา ผมเชื่อนะครับว่าสุดท้ายแล้วจอภาพชนิดใหม่นี้ที่รวมเอาข้อดีของจอภาพ อิเล็กทรอนิกส์ที่แสดงภาพได้หลากหลายเข้ากับความบางยืดหยุ่นพกพาง่ายของแผ่น กระดาษ จะค่อย ๆ เข้ามาแทนที่จอภาพในปัจจุบัน และลามไปถึงแทนที่สิ่งพิมพ์รูปแบบกระดาษอย่างหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือแผ่นป้ายโฆษณาด้วย จะว่าไปแล้วนี่ก็ไม่ต่างจากวัฏจักรเทคโนโลยีและนวัตกรรมอื่น ๆ นะครับ มีมาก็มีไป ในเมื่อโลกศตวรรษที่ 21 ของเรามีการเปลี่ยนถ่าย เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนรูปแบบไปตามพลวัตความต้องการของผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลาเช่นนี้ คนที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนตัวเองไปด้วยกันกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ รู้จักที่จะใช้ประโยชน์จากความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เท่านั้นล่ะครับ ที่จะสามารถอยู่รอดในโลกใบเล็ก ๆ นี้ได้อย่างสะดวกสบายที่สุด.เทคโนโลยีของจอภาพได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลากว่า 130 ปี จากจอแก้วภาพขาวดำในอดีต จนมาเป็นนวัตกรรมหน้าจอภาพที่มีสีสันสดสวยแบบทัชสกรีนในปัจจุบัน
หากย้อนไปถึงต้นกำเนิดของจอภาพ จะพบว่าโทรทัศน์ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ มีจุดกำเนิดมาจากเครื่องรับโทรทัศน์ หรือ จอ CRT (Cathode Ray Tubes) เป็นจอชนิดแรกซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน แต่ด้วยความที่จอ CRT มีข้อจำกัดด้วยขนาดที่ใหญ่ เปลืองค่าไฟฟ้า และความละเอียดของภาพที่ไม่สูงนัก จึงมีการคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีจอภาพให้ดีขึ้น
ตั้งแต่จอพลาสมา ซึ่งสามารถแก้ไขในจุดด้อยของจอ CRT ในแง่ของการประหยัดไฟฟ้าและรายละเอียดของคุณภาพของภาพที่ดียิ่งขึ้น และจอ LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งมีการพัฒนาให้มีขนาดเล็กและบางยิ่งขึ้น จวบจนถึง เทคโนโลยีจอภาพแบบ LED (Light-Emitting Diode) ซึ่งใช้หลักการทำงานของการผสมสีของ LED หลัก 3 สี ได้แก่ สีแดง (Red), สีเขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) หรือเรียกสั้นๆว่า RGB ให้ความเข้มแสงสูง ประหยัดพลังงาน และมีอายุการใช้งานยาวนาน
หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก ตั้งแต่ยุค 1980 โดยสามารถใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์ ตั้งแต่เพื่อความบันเทิง อย่างการดูหนังฟังเพลง การเล่นเกม การทำงานกราฟฟิคคุณภาพสูง ไปจนถึงการตกแต่งรูปภาพสำหรับมืออาชีพ พัฒนาการของหน้าจอคอมพิวเตอร์จึงต้องมีการใช้เทคโนโลยีจอภาพของโทรทัศน์มา พัฒนาเพื่อรองรับการใช้งานที่เพิ่มขีดความต้องการมากขึ้น -
มาแล้ว กับจอ LED ครบวงจรมีที่เดียวในไทยตอนนี้ มีทั้งบริการเช่า หรือ ขาย สามารถเลือกได้เลยจร้า กับ จอ LED ดีๆ มีที่ไหนให้เช่าบ้าง เข้ามาดูที่นี่เลยเรามี 1 ที่แนะนำ กับเช่าจอ LED ครบวงจร ทั้งเรื่องของ คุณภาพ ระการให้บริการที่ดีคุณจะได้ความพอใจกลับไปแน่นอน เข้ามาดู มาเลือกได้เลยว่า จอ LED ของเรามีขนาดไหน และแบบไหนที่ถูกใจคุณบ้าง เข้าดุได้เลยที่เว็บไซต์ของเราที่ลิงค์ด้านล่างนี้เลยจร้า
ตอบลบลิงค์ทางเข้าหน้าเว็บไซต์ >>>> smledpro
สำหรับเนื้อหาที่เรานำมา เป็นเนื้อหาสาระดีๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องของ จอ LED ซึ่งใครที่กำลังที่กำลังสนใจสามารถเข้ามาหาดุข้อมุลได้เลยว่า แบบไหน ขนาดไหน ที่จะถุกใจคุณ และแน่นอนว่า มีทั้งบริการ ให้เช่า และ ซื้อได้ในที่เดี่ยวอย่างแน่นอนจร้า เข้ามาดูกันได้เลยจร้า